ปัจจัยที่มีผลต่อการรับประทานยาต้านวัณโรคไม่ถูกต้องในผู้ป่วยดื้อยา

Main Article Content

ชาติชาย กิติยานันท์

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะวัณโรคเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทย จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่าอัตราการค้นหาวัณโรคของไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่พบว่ารักษาค่อนข้างล้มเหลว จากการวิเคราะห์ในแต่ละประเด็นสำคัญตามที่ระบุไว้ในระบบติดตามการรักษาแบบมีพี่เลี้ยงด้วยระบบยาระยะสั้น พบว่าคุณภาพในการวินิจฉัยโรคอยู่ในเกณฑ์ดี ระบบการกระจายยา การสำรองยาอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ในด้านของการรายงานถือได้ว่าการรายงานของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ยังมีอัตราการขาดยาสูง เพิ่มขึ้น เกิดเชื้อดื้อยาและแพร่กระจายเชื้อดื้อยา เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เสียค่าใช้จ่ายในการรักษามากขึ้น คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง มีอัตราการตายสูงขึ้น การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการศึกษาปัจจัยทางสังคมที่อาจส่งผลต่อการรับประทานยา
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลในผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานที่โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 45 คน โดยให้ผู้ป่วยได้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลด้าน ข้อมูลทั่วไป ทัศนคติ การสนับสนุนจากสังคมระยะทาง การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษายึดหลักจริยธรรมการศึกษาวิจัยในมนุษย์ โดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี
ผลการศึกษา: จากจำนวนผู้ป่วยจำนวน 45 คน อายุเฉลี่ย 50.2 ±16.9 ปี เป็นเพศชาย จำนวน 22 คน (ร้อยละ 48.9) ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจำนวน 26 คน (ร้อยละ 57.8) มีรายได้อยู่ระหว่าง 1,001- 5,000 บาทต่อเดือนจำนวน 33 คน(ร้อยละ 73.3) ราย มีผู้ป่วยที่มีการรับประทานยาถูกต้องค่าคะแนนเกินกว่าร้อยละ 90 มีจำนวน 39 คน(ร้อยละ 86.7) ระยะทางระหว่างบ้านมาถึงรงพยาบาลอยู่ในช่วง 5.1-10 กิโลเมตร(ร้อยละ 24.44) ส่วนค่าคะแนนของตัวแปรทางสังคมได้แก่ ทัศนคติ การสนับสนุนทางสังคมด้านต่างๆ พบว่าค่าคะแนนมีความสัมพันธ์กัน ทั้งนี้พบว่าปัจจัยสนับสนุนทางสังคมมีผลในการช่วยลดการทานยาไม่ถูกต้องถึงร้อยละ 99.3 (p =002, 95% CI=76.4% -99.99) เมื่อยังไม่ควบคุมปัจจัยอื่น
สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ: ปัจจัยทางสังคมที่อาจส่งผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยามีผลที่ทำให้ลดการรับประทานยาที่ไม่ถูกต้องถึงร้อยละ 99.3 (p = 002, 95% CI=76.4% -99.99)อย่างไรก็ตามการรับประทานยาที่ไม่ถูกต้องอาจไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดเชื้อดื้อยา โดยในการศึกษาครั้งนี้พบว่าผู้ที่เกิดเชื้อดื้อยามีการรับประทานยาถูกต้องถึงร้อยละ 86.7 ควรศึกษาปัจจัยด้านลักษณะของเชื้อ รวมถึงอาจต้องศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ป่วยร่วมด้วย
คำสำคัญ: วัณโรคดื้อยา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สำนักวัณโรค กลุ่มยุทธศาสตร์และประเมินผล กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์วัณโรคของประเทศไทย, [Internet]. [สืบค้นวันที่ 16 พ.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.tbthailand.org/download/สถานการณ์วัณโรคของประเทศไทย%2010%20พย.%2060%20final%201.pdf

2. สำนักวัณโรค กรมควบคุมวัณโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : สำนักวัณโรค กรมควบคุมวัณวัณโรค; 2561.

3. ยุทธิชัย เกษตรเจริญ. หลายๆมุมมองเกี่ยวกับ DOTS. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต 2551;34:1:30-9.
4. วรศักดิ์ สุทาชัย. การประเมินผลระบบการประกันคุณภาพการตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์ต่อโรงพยาบาลในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2548;38:2:111-5.

5. กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด, สุพร กาวินำ. การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานควบคุมวัณโรคในพื้นที่จังหวัดตาก. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2558;10:1:1-14.

6. Ormerod LP. Multidrug-resistant tuberculosis (MDR-TB): epidemiology, prevention and treatment. Br Med Bull 2005;73–74(1):17-24.

7. Drug-Resistant tuberculosis, Centers for disease control and prevention. [Internet]. [cited 2018 Nov 16]. Available from:URL:https://www.cdc.gov/tb/topic/drtb/default.htm

8. อนุพงศ์ สุจริยากุล, จณิศรา ฤดีอเนกสิน, ณัฏฐกัญจน์ ทิพย์เครือ, เบญจวรรณ เพชรสุขศิร. สถานการณ์เชื้อวัณโรคดื้อยาหลาย ขนานในโรงพยาบาลมะการักษ์ ปี พ.ศ. 2545-2550. วารสารวัณโรค โรคทรวงอก และเวชบำบัด วิกฤติ 2551;29:103-13.

9. Oeltmann JE, Varma JK, Ortega L, Liu Y, O’Rourke T, Cano M, et al. Multidrug-resistant tuberculosis outbreak among US-bound Hmong refugees, Thailand, 2005. Emerg Infect Dis 2008;14:1715-21.

10. สมบัติ แทนประเสริฐ, จิตรลดา อุทัยพิบูลย์, ก่อพงษ์ ทศพรพงศ์, จันทิรา สุขะสิฐษ์วณิชกุล, วัลภา จุลเวช. ระบาดวิทยาเชิงพรรณนาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน โรงพยาบาลมะการักษ์. วารสารควบคุมโรค 2560;43:4:400-412.

11. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานตามโครงการสำคัญที่เร่งรัดของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2552. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

12. สุภร บุษปวนิช, พงศ์ศักดิ์ ด่านเดชา. พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. สุภร บุษปวนิช, พงศ์ศักดิ์ ด่านเดชา. พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. สงขลานครินทร์เวชสาร 2549;24(4):281-7.

13. ณฐกร จันทนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)].มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561.

14. Zhao Y, Xu S, Wang L, Chin DP, Wang S, Jiang G, et al.National Survey of Drug-Resistant Tuberculosis in China. N Engl J Med 2012;366(23):2161-70.

15. ธารารัตน์ สัจจา, กัลยาณี นาคฤทธิ์. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลระนอง. วารสารกองการพยาบาล 2555; 39(2):22-36.