การศึกษาผลการลดกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังอย่างต่อเนื่องของตำบลต้นแบบภายหลังการใช้ “กลไกประชารัฐเชิงรุก บุกถึงก้นครัว” จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

ชาติชาย กิติยานันท์

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: งานเฝ้าระวังและควบคุมโรคเรื้อรังเป็นงานที่สำคัญของหน่วยบริการสาธารณสุขทุกแห่ง เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากสภาพวิถีชีวิต บริบทพื้นที่ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวัง ควบคุมโรคเรื้อรัง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพและลดกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังของประชาชนตำบลท่าคา และเปรียบเทียบผลการลดกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังของประชาชนตำบลท่าคาก่อนและหลังการนำรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาดำเนินการ
รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงทดลอง (Experimental Development Research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลังการทดลอง หลายครั้ง (One-Group Pre-test Post-test, time series Design)
วิธีการวิจัย: ดำเนินการวิจัยระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2556 ถึงวันที่ 1ตุลาคม พ.ศ.2561โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ1) ระยะก่อนการทดลอง โดยการวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินงาน พร้อมทั้งศึกษาวรรณกรรม ทั้งทฤษฎี หลักการ นโยบาย แผนงาน และแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาประยุกต์ในพื้นที่ตำบลท่าคา 2) ระยะทดลอง โดยการนำรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้ “กลไกประชารัฐเชิงรุก บุกถึงก้นครัว” ซึ่งเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเป็นระบบในการลดกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังของประชาชนไปดำเนินการในตำบลท่าคา ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ปฏิบัติเป็นระยะๆ วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ตลอดจนการคืนข้อมูลสู่ชุมชน และนำผลที่ได้มาปรับปรุงระบบการดำเนินงาน วิธีการ กระบวนการ และวิธีปฏิบัติ 3) ระยะหลังทดลอง นำข้อมูลจากการเก็บรวบรวมผลการดำเนินงานมาวิเคราะห์ทางสถิติและสรุปผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ในพื้นที่ท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 2,879 คน ในปีงบประมาณ 2557 ถึง ปีงบประมาณ 2561 เป็นระยะเวลา 5 ปี
ผลการศึกษา: ภายหลังนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ในปีงบประมาณ 2561 มีกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังลดลงจากปีงบประมาณ 2558 โดยพบว่า จากการคัดกรองหากลุ่มเสี่ยงจากระดับน้ำตาลในเลือด จากระดับความดันโลหิต จากค่าดัชนีมวลกายเกิน และกลุ่มเสี่ยงจากรอบเอวเกิน ร้อยละ 7.2 11.037.4 และ 39.2 ตามลำดับจากร้อยละ 10.7 25.5 43.9 และ 50.4 ตามลำดับจากการเปรียบเทียบผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ก่อนและหลังการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเป็นระบบกับการลดกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังของประชาชนตำบลท่าคา พบว่ามีความแตกต่างกันในกลุ่มน้ำตาลในเลือด กลุ่มความดันโลหิต กลุ่มดัชนีมวลกาย และกลุ่มรอบเอว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุป: รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้ “กลไกประชารัฐเชิงรุก บุกถึงก้นครัว”ช่วยส่งเสริมการเข้าถึงการดูแลสุขภาพครอบคลุมในทุกระดับ จากระดับชุมชนสู่ครัวเรือนและในระดับบุคคล มีการวางแผนการดำเนินงาน และติดตามผลการดำเนินงาน ในเรื่องการคัดกรองภาวะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ มีการศึกษาผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเป็นระบบส่งผลให้เกิดการลดกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น
คำสำคัญ: กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ตำบลต้นแบบ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สมเกียรติ โพธิสัตย์, เนติมา คูนีย์, รัชนีบูลย์ อุดมชัยรัตน์, พรทิพย์ ปรีชาไชยวิทย์, สุรีพร คนละเอียด, ศุภลักษณ์ มิรัตนไพร, และคณะ. การทบทวนวรรณกรรม : สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี : สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

2. ทัศนีย์ บุญทวีส่ง. พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในโรคที่พบบ่อย 5 อันดับแรก กรณีศึกษาเขตบริการโรงพยาบาลสิงหนคร จังหวัดสงขลา [ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2549.

3. ปรีดา เจษฎาวรางกุล. การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคูคตอําเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต] บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

4. ทานตะวัน อินทร์จันทร์. การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนย่อย ในเขตเทศบาลเมืองลำพูน [การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย; มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.

5. ณรงค์ วารีชล. การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาเทศบาลสู่เมืองน่าอยู่ กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบางพระ [ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต]. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ; มหาวิทยาลัยบูรพา; 2551.

6. ติน ปรัชญาพฤทธ์. ทฤษฎีองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิชย์; 2542.

7. ยุพินระพิพันธุ์. ความรู้ ทัศนคติและการจัดการที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการจำแนกประเภทมูลฝอยที่ใช้ในชีวิตประจำวันก่อนทิ้งในเขตเทศบาลเมืองพนัส อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย ; มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2544.

8. อรรถพงศ์ เพ็ชร์สุวรรณ์ พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน : กรณีศึกษา ผู้มารับบริการทางการแพทย์ เขตสถานีอนามัย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม)]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2552.