ประสิทธิผลการใช้ Preeclampsia Care Map (PCaM) ในโรงพยาบาลรับส่งต่อขนาดใหญ่

Main Article Content

สิรยา กิติโยดม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ Preeclampsia care map (PCaM) ในการดูแลสตรีครรภ์เป็นพิษ โดยประเมินเปรียบเทียบจากอัตราการได้รับที่เหมาะสมของแมกนีเซียม การผิดพลาดจากการสั่งยาและความคลาดเคลื่อนในการดูแลสตรีครรภ์เป็นพิษ ก่อนและหลังใช้ PCaM
วิธีศึกษา: การวิจัยแบบ Historical controls intervention trial ศึกษาสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงและต้องได้รับยาแมกนีเซียมซัลเฟตเพื่อป้องกันภาวะชัก โดยแบ่งเป็นสองช่วงเวลา ได้แก่ ก่อนใช้ PCaM ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2557 - 31 กรกฎาคม 2558 และหลังใช้ PCaM ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2558 - 31 กรกฎาคม 2559 ทำการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย บันทึกการรักษา ใบย่อคลอด ใบส่งตัวผู้ป่วยและบันทึก PCaM หลังรวบรวมข้อมูลทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์เชิงสถิติด้วย สถิติ chi-square โดยให้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p-value < 0.05
ผลการศึกษา: พบช่วงก่อนใช้ PCaM มีสตรีคลอดบุตรที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง 146 ราย คัดออกจากการศึกษา 5 ราย ช่วงหลังใช้ PCaM มีสตรีคลอดบุตรภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง 135 ราย คัดออกจากการศึกษา 13 ราย ลักษณะทั่วไป ไม่พบความแตกต่างกันในสองช่วงเวลา การศึกษานี้หลังใช้ PCaM พบการให้ขนาดยาแมกนีเซียมซัลเฟตต่อเนื่อง (maintenance dose) มีความเหมาะสม สูงขึ้น 1.2 (1.1-1.3) (จากร้อยละ 75.2 เป็นร้อยละ 90.2) แมกนีเซียมในเลือดได้ระดับมาตรฐานการรักษาก่อนคลอดสูงขึ้นเป็นร้อยละ 47.5 จากก่อนใช้ร้อยละ 41.1 แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และหลังคลอดสูงขึ้น เป็นร้อยละ 90.2 จากก่อนใช้ร้อยละ 78.7 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1.1 เท่า ในการศึกษานี้พบว่าถ้าระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำกว่าระดับการรักษาแล้ว หลังใช้PCaMไม่พบความล่าช้าในการปรับขนาดยาแมกนีเซียมซัลเฟตให้เพิ่มสูงขึ้น 1.4 เท่า และมีการปรับขนาดการให้ยาแมกนีเซียมซัลเฟตด้วยขนาดยาที่เหมาะสมเพิ่มสูงขึ้น 1.1 เท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้ไม่พบความแตกต่างในการเกิดความล่าช้าในการให้ยาลดความดันและความล่าช้าในการพบอาการเตือนแสดงเกิดการชักจากครรภ์เป็นพิษ (warning sign)
สรุป: ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะสำคัญทางสูติศาสตร์ โดยมีแนวทางการรักษาลดการเกิดภาวะชักซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในการทำให้เกิดการเสียชีวิต ด้วยการให้แมกนีเซียมซัลเฟตโดยให้ระดับแมกนีเซียมในเลือดได้ระดับการรักษา การใช้ PCaM มีประสิทธิผล หลังใช้ PCaM การให้ขนาดยาแมกนีเซียมซัลเฟตต่อเนื่อง (maintenance dose) เหมาะสมและ แมกนีเซียมในเลือดได้ระดับมาตรฐานการรักษาหลังคลอดสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และลดความล่าช้าในการปรับขนาดยาแมกนีเซียมซัลเฟตในกรณีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำกว่าระดับการรักษา รวมทั้งมีการปรับขนาดยาด้วยขนาดยาเหมาะสมเพิ่มสูงขึ้นหลังใช้ PCaM
คำสำคัญ: ภาวะครรภ์เป็นพิษ care map แมกนีเซียมซัลเฟต

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. American College of Obstetricians and Gynecologists; Task Force on Hypertension in Pregnancy. Hypertension in pregnancy. Report of the American College of Obstetricians and Gynecologists’ Task Force on Hypertension in Pregnancy. Obstet Gynecol 2013;122(5):1122-31.

2. Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse DJ, Spong CY, et al. Hypertensive disorders in pregnancy. Williams Obstetrics. 24th. ed. New York: McGraw-Hill Education; 2014:728.

3. Nhu Thi Nguyen Ngoc, Mario Merialdi, Hany Abdel-Aleem, Guillermo Carroli, Manorama Purwar, Nelly Zavaleta, et al. Causes of stillbirths and early neonatal deaths: data from 7993 pregnancies in six developing countries. Bull World Health Organ 2006;84(9):699-705.

4. The Eclampsia Trial Collaborative Group. Which anticonvulsant for women with eclampsia? Evidence from the Collaborative Eclampsia Trial. Lancet 1995;345(8963):1455-63.

5. Altman D, Carroli G, Duley L, Farrell B, Moodley J, Neilson J, et al. Do women with preeclampsia, and their babies, benefit from magnesium sulphate? The Magpie Trial: a randomised placebo controlled trial. Lancet 2002;359(9321):1877-90.

6. Kitiyodom S. Eclampsia in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Med J Srisaket Surin Buriram Hosp 2014; 29(3):129-38.

7. Boonyongchaisawat R, Kitiyodom S. Association between maternal BMI and sub-therapeutic serum magnesium level in severe pre-eclampsia in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Thai J Obstet Gynaecol 2016;24:1-7.

8. Jaisamut P, Kitiyodom S. Effect of Maternal Body Mass Index on Serum Magnesium Level in Pregnant Women with Preeclampsia at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Thai J Obstet Gynaecol 2016;25(3):159-66.

9. Kitiyodom S. Comparison of the Level of Magnesium during Maintenance between 2 Gram and 1 Gram per Hour Infusion in Overweight Mothers with Preeclampsia. J Med Assoc Thai 2016;99 Suppl 7:S133-7.

10. Kitiyodom S, Srithong P. Deviated management of preeclampsia with severe feature at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Unpublished data.