การปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุขตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ชวดล ช่วงสกุล

บทคัดย่อ

บทนำ: นโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) มุ่งเน้นควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน การดำเนินงานของจังหวัดศรีสะเกษในปีพ.ศ.2560 ที่ผ่านมาพบว่ามี รพ.สต. เพียง 36 แห่ง (ร้อยละ 14.2) จากจำนวนทั้งหมด 254 แห่งมีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในทั้ง 2 โรค ผ่านเกณฑ์เป้าหมาย คือไม่เกินร้อยละ 20
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการปฏิบัติ ทัศนคติ การสนับสนุนขององค์กร และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของบุคลากรใน รพ.สต.
สถานที่ทำการศึกษา: รพ.สต.ภายในจังหวัดศรีสะเกษ
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรสาธารณสุขสังกัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 991 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีแบบแบ่งชั้นได้กลุ่มตัวอย่าง 248 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงในส่วนของทัศนคติ การสนับสนุนขององค์กร และการปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุข เท่ากับ 0.7, 0.9 และ 0.7 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไค-สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 68.5) อายุเฉลี่ย 41.2 ปี ส่วนมากดำรงตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข และพยาบาลวิชาชีพ (ร้อยละ 36.3 และ 31.1 ตามลำดับ) มีระยะเวลาการปฏิบัติงานเฉลี่ย 10.5 ปี ส่วนใหญ่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (ร้อยละ 72.2) มีทัศนคติต่อนโยบายโดยรวมอยู่ในระดับมาก การสนับสนุนขององค์กรอยู่ในระดับปานกลาง การปฏิบัติของบุคลากรตามนโยบายอยู่ในระดับสูง เพศ และตำแหน่งของบุคลากรสาธารณสุขมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามนโยบายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.003, 0.031 ตามลำดับ) ทัศนคติมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางในทิศทางบวกกับการปฏิบัติตามนโยบายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.4, p-value<0.001) และการสนับสนุนขององค์กรก็มีความสัมพันธ์ระดับต่ำในทางบวกกับการปฏิบัติตามนโยบายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.3, p-value<0.001)
สรุป: บุคลากรที่ปฏิบัติงานในรพ.สต. ปฏิบัติตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอยู่ในระดับสูง โดยปัจจัยด้านเพศ ตำแหน่ง ทัศนคติ และการสนับสนุนขององค์กรมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามนโยบาย
คำสำคัญ: การปฏิบัติ ทัศนคติ การสนับสนุนขององค์กร การใช้ยาอย่างสมเหตุผล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. รุ่งทิวา หมื่นปา, นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช. การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Used : RDU).[ออนไลน์]. 2560.[สืบค้น 15 เม.ย. 2560] ; เข้าถึงได้จาก : URL:https://www.ccpe.pharmacycouncil.org/ showfile.php?file=209.

2. พรพิมล จันทร์คุณาภาส, ไพรำ บุญญะฤทธิ์, วรนัดดา ศรีสุพรรณ, นุชน้อย ประภาโส, บรรณาธิการ. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan ) สาขาพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (Service Plan : Rational Drug Use). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559.

3. วิสุทธิ์ กังวานตระกูล. การคํานวณขนาดตัวอย่าง (Sample Size Calculation) เพื่อการศึกษาวิจัย.[ออนไลน์]. 2554 [สืบค้น25 ก.ค. 2560]; เข้าถึงได้จาก: URL:https://home.kku.ac.th/wiskun/451710/SampleSizeCal.pdf.

4. สุชาสินี พานทอง, เฉลียว ผลพิกุล, ประยุทธ ไตรสารศรี, สุระเชษฐ์ เกษสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ของทัศนคติและความเข้าใจของการใช้ยาอย่างสมเหตุผลต่อปริมาณการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตําบลอําเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [ออนไลน์]. 2558. [สืบค้น 27 ก.ค. 2560]; เข้าถึงได้จาก : URL:https://www.ayo.moph.go.th/main/file_upload/subforms/ 2016_80169fe192959e1ed1a6760ad0611a ลำดับที่1.281.20 ความสัมพันธ์ของทัศนคติฯ_201601281156.pdf.

5. Remesh A, Gayathri AM, Singh R, Retnavally KG. The knowledge, attitude and the perception of prescribers on the rational use of antibiotics and the need for an antibiotic policy-a cross sectional survey in a tertiary care hospital. J ClinDiagn Res 2013;7(4):675-9.

6. ศิริลักษณ์ ใจซื่อ, ศศิธร เอื้อนันต์. ผลของโครงการ Antibiotic Smart Use ต่อความรู้เกี่ยวกับการจ่ายยาปฏิชีวนะของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560;32(2):119-26.

7. Tan WL, Siti R, Shahfini I, Zuraidah A.Knowledge, attitude and practice of antibiotics prescribing among medical officers of public health care facilities in the state of Kedah, Malaysia. Med J Malaysia 2015;70(5):307-11.

8. Strandberg EL, Brorsson A, André M, Gröndal H, Mölstad S, Hedin K. Interacting factors associated with Low antibiotic prescribing for respiratory tract infections in primary health care - a mixed methods study in Sweden. BMC FamPract 2016;17(78):1-10.