เกลือ และประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานชุมชนในอีสาน

Authors

  • อมฤต หมวดทอง อาจารย์ ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Keywords:

การตั้งถิ่นฐาน, เกลือ, อีสาน, ตะวันออกเฉียงเหนือ, settlement, salt, E-San, Northeast of Thailand

Abstract

        “ภาคอีสาน” หรือ “ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ในประเทศไทย ในยุคโบราณเคยเป็นพื้นที่มีนํ้า ทะเลเข้าท่วมท้น ต่อมานํ้าทะเลเหือดแห้งจึงเกิดเกลือที่ชั้นดิน เมื่อแผ่นดินยกตัวขึ้นเกิดเป็นสันเกิดเป็นแอ่ง สกลนคร และแอ่งโคราช จึงทำให้พื้นที่แอ่งทั้งสองเต็มไปด้วยเกลือสินเธาว์ ทั้งนี้ จากหลักฐานทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์แสดงการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยของผู้คนที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่แหล่งผลิตเกลือมาตั้งแต่ ประวัติศาสตร์ยุคโบราณจนกระทั่งปัจจุบัน จึงนำไปสู่คำถามในการศึกษาว่า ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานใน อีสานมีความสัมพันธ์เชิงพื้นที่กับแหล่งผลิตเกลืออย่างไร และจะมีโอกาสในการต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อเป็น ประโยชน์ต่อชุมชนอย่างไร

        จากการทบทวนเอกสารด้านประวัติศาสตร์อีสาน และการศึกษาภาคสนาม มีผลการศึกษาว่า จากเหตุผลทางธรณีวิทยา เกลือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมอันเป็นผลมา จากการดำรงชีวิตในมิติต่าง ส่งผลให้คนมาตั้งถิ่นฐาน เกิดเป็นบ้านเป็นเมือง ในหลายพื้นที่พบหลักฐานภาชนะ ดินเผาและเครื่องมือเครื่องใช้โลหะ ซึ่งชี้ว่าเป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ อาทิเชน่ แหลง่ เกลือบอ่ พันขัน ลุม่ น้ำ เสียว จังหวัดร้อยเอ็ด, แหล่งเกลือรอบหนองหาน จังหวัดสกลนคร แล้วเกิดการซ้อนทับกันของวัฒนธรรมใน ยุคถัดมา ในยุคลาวล้านช้าง ได้พบตำนานและนิทานพื้นบ้านที่เรื่องราวยึดโยงผู้คนกับพื้นที่เข้าไว้ด้วยกันที่มี นัยสำคัญ เกี่ยวข้องกับพื้นที่ผลิตเกลือ

        การผลิตเกลือมักพบร่องรอยอยู่ที่บริเวณริมหนองนํ้า ทุ่งนา แม่นํ้า หรือ ลำห้วย โดยมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่เคารพของชุมชนอยู่บริเวณผลิตเกลือ พื้นที่ดังกล่าวจะไม่ห่างจากที่พักอาศัยนัก พบการผลิตเกลือพื้น บ้าน แบ่งเป็นสองวิธี ได้แก่ 1) การขูดดิน แล้วนำมาแยกนํ้าเค็มออกมา จากนั้นจึงนำมาต้ม 2) การตักนํ้าเค็ม จากบ่อใต้ดินขึ้นมาต้ม เพราะฉะนั้นการผลิตเกลือนั้นต้องอาศัยช่วงเวลาที่สัมพันธ์กับฤดูกาลทางธรรมชาติ

       สรุปโดยรวมว่า ทรัพยากรเกลือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีพ การถนอมอาหาร การทำยารักษา โรค ปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้นำไปสู่การตั้งถิ่นร่วมกันเป็นชุมชน และมีการขยายตัวขึ้นเป็นบ้านเป็นเมือง จนมี พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สืบต่อมา ปัจจุบันนี้ชุมชนที่ผลิตเกลือแบบพื้นบ้านยังคงหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก ที่ยังคงผลิตเกลืออยู่ ได้แก่ บ่อกระถิน จังหวัดขอนแก่น บ่อหัวแฮด จังหวัดบึงกาฬ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุมชนที่ บ่อหัวแฮด จังหวัดบึงกาฬ มีการผลิตแบบพื้นบ้านต่อเนื่องจากอดีต โดยทางชุมชนอยากสร้างมูลค่า เพิ่มให้กับเกลือ จึงมีโอกาสพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับเศรษฐกิจที่สร้างความตระหนัก รู้ด้านการอนุรักษ์หวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นต่อไป


Salt and History of Isan Settlement

Amrit Muadthong

Lecturer, Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts, Mahasarakham University

        The Northeast of Thailand or Isan used to be flooded by sea, then evolved and turned into layers of salt. Such areas have become the basin of Sakon Nakhon and Korat, where salt is generally found, along with types of mineral and forests. In addition, according to historical and archaeological evidences, there used to be the settlement which was salt-based. As a result, this study was aimed to prepare the review of the importance and relationship of salt and communities, especially for historical aspects and field works. Plans and perspective illustrators were also prepared.

        It was found that salt brought about people and settlement, leading to pottery and trading of people in pre-historic time, such as Bor Pan Khan of Nam Siao in Roi-Et Province, Nong Harn in Sakon Nakhon Province, and Bor Kra Tin of Khon Kaen Province. Then people moved and brought new culture to the areas. During Lan Xang period, there were tales and folklores related to salt, such as the legend of Bor Hua Had in Bung Kaan Province, Pha Dang Nang Ai, Bodhisattva, and Jaa An and Nang San Ti in the area of Toong Kula field in the area of Nam Siao Basin.

        The production of salt is generally found in the area along the ponds, rivers, and streams, with the holy thing in such areas for people to pay respect. There were two ways for salt production: 1) to scratch the soil then extract the soil and boil it; and 2) to boil underground water. Both ways depend on the weather, i.e. it is proper to produce soil during dry season. It can be said that salt is an essential supply for living as it finally leads to settlement which can be the trace of history.

        At present, there are not many communities whose members produce salt. The examples are Bor Kra tin in Khon Kaen Province and Bor Hua Had in Bung Kaan Province, which becomes the center for learning and community-based tourism. This brings them not only money, but also sense of belonging to the community which should be preserved.

Downloads

How to Cite

หมวดทอง อ. (2017). เกลือ และประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานชุมชนในอีสาน. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 29, 165. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/44230

Issue

Section

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment