บ้านและเรือนพื้นถิ่นไทพวนบางปลาม้า สุพรรณบุรี : ความแปรเปลี่ยนและการปรับตัว Villages and Vernacular Houses of Tai-Phuan Bangplama Supanburi Province : Changes and Adaptability

Main Article Content

Ornsiri Panin

Abstract

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เน้นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการปรับตัวและวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทพวน มีพื้นที่ต้นกำเนิดในแขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งอพยพย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย รวมทั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางของประเทศไทยเมื่อสองร้อยปีที่ผ่านมา ชาวไทพวนพบกับความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ตั้งถิ่นฐานและปรับวิถีชีวิตให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมากมาย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการดำรงชีวิตที่ผันแปรไป ชาวไทพวนยังคงรักษาวัฒนธรรมเกี่ยวกับการอยู่ไว้ได้ส่วนหนึ่ง โดยการใช้เครื่องมือในการสืบค้นข้อมูลแบบทฤษฎีสามเส้า : เอกสาร ผนวกการทำงานภาคสนามโดยใช้แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศเป็นฐานในการสืบค้นไปพร้อมๆ กับการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่กำหนดโครงสร้าง โดยเน้นพื้นที่ศึกษาวิจัยที่ตำบลมะขามล้ม และพื้นที่เกี่ยวเนื่องในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐานเก่าแก่กว่า 200 ปี โดยใช้กรอบการวิจัยด้านนิเวศวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน งานวิจัยนี้ต้องการสืบค้นคำตอบของการปรับตัวในวิถีชีวิตของไทพวนในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ สภาพกายภาพของผังหมู่บ้านและเรือนพื้นถิ่น

จากการศึกษาได้พบว่าไทพวนซึ่งตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีมายาวนานสองศตวรรษแล้วนี้ สามารถเก็บรักษาวิถีการอยู่อาศัยและการดำรงชีพหลักไว้ได้เพียงบางส่วน ขณะที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นถูกครอบงำด้วยรูปลักษณ์ของเรือนไทยแบบประเพณี แต่ยังคงรูปแบบของผังพื้นแบบเดิมที่ต่างจากผังพื้นของเรือนไทยประเพณี และมีความแปรเปลี่ยนไปตามช่วงอายุการสร้าง สำหรับสภาพทางกายภาพของผังหมู่บ้านแปรเปลี่ยนไปตามอิทธิพลของนโยบายของรัฐทั้งนโยบายเกี่ยวกับการเกษตรและการพัฒนาสาธารณูปโภค แต่วิถีชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อและสิ่งเหนือธรรมชาติยังคงเดิม ส่วนประเพณีเกี่ยวเนื่องกับเรือนและสภาพแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการเกษตรเริ่มจางหายไปเรื่อยๆ ตามวิถีชีวิตทางการเกษตรที่เปลี่ยนไป

Abstract

This research emphasized on the living adaptability of Tai-Phuan Ethnic whose original settlement was in Xieng Khouang, The Lao PDR. A large number of Tai-Phuan had migrated to various location including the Central Thailand two hundred years ago. They faced with diverse changes in their living conditions and have adapted to the changing environment while maintaining parts of their architectural culture. By using triangulation method for data collecting : secondary document, field survey with aerial photography and maps based in combination with non-structure in-depth interview, the research focuses on the villages of Ban-Makam-Lom in it’s vicinity in  Bangplama District, Supanburi Provinced. Concentration on their living adaptability, the research framework of Cultural Ecology as well as Sustainable Vernacular Architecture and Environment are to be used. The research deals with issues of adaptability in natural environment, way of living physical conditions of village planning and vernacular architecture.

Tai-Phuans who had settled in Ban Makamlom, Bangplama two centuries ago, could maintain only parts of their domestic culture and particular ways of living, while their architectural culture had totally been transformed. The influenced of traditional Thai house had overshadowed their vernacular architecture, their village environment has gradually been transformed by agricultural and development policy of Thai Government Plan. While their riturals and beliefs remain, many of their architectural and environmental heritages have gradually faded away.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
ARTICLES