การพัฒนาระบบจัดการความขัดแย้งด้านบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข มาตรา 41 ของโรงพยาบาลภาครัฐ จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • Sanae Chaiphosan สำนักงานสาธารณสุขหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

การจัดการความขัดแย้ง, บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข มาตรา 41

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบจัดการความขัดแย้งด้านบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข มาตรา 41 ของโรงพยาบาลภาครัฐ ในจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ใช้ข้อมูลช่วงปี 2554-2560 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในจังหวัดหนองบัวลำภู 77 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึก SWOT analysis การพัฒนากระบวนการและการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่าผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ในจังหวัดหนองบัวลำภูเพิ่มขึ้น ใช้การไกล่เกลี่ยระงับความขัดแย้งที่ประหยัดค่าใช้จ่าย เรียบง่าย รวดเร็ว และเป็นความลับ หลังพัฒนากระบวนการ สร้างข้อกำหนดในการปฏิบัติงาน พัฒนาบุคลากร ตั้งเป้าหมาย และผลลัพธ์การเยียวยาตามมาตรา 41 พบว่าระบบการจัดการความขัดแย้งชัดเจนของในจังหวัดหนองบัวลำภูสามารถลดอัตราการจ่ายชดเชยได้

ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายเข้าเกณฑ์การพิจารณาจ่ายเงิน ร้อยละ 84.4 กลุ่มโรคที่ยื่นคำร้อง ได้แก่ อายุรกรรม สูตินรีเวช และศัลยกรรม คิดเป็นร้อยละ 44.2, 40.3 และ 11.7 ตามลำดับ สาเหตุการยื่นคำร้อง ได้แก่ เสียชีวิต บาดเจ็บ พิการร้อยละ 50.6, 31.2, และ 10.4 ตามลำดับ และจ่ายเงินค่าเสียหาย 100,000 บาทขึ้นไป ร้อยละ 72.7

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04