รูปแบบการบริหารจัดการหน่วยบริการปฐมภูมิที่ทรงคุณค่าต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8 จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • Chaweewan Sridawruang วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • Piyanuch Promsaka na Sakolnakorn วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารจัดการหน่วยบริการปฐมภูมิ, ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการหน่วยบริการที่ทรงคุณค่าต่อระบบประกันสุขภาพ     ตามคุณลักษณะ 5 ด้านคือ ด้านการวางแผนงาน ด้านการบริหารจัด การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ด้านการบริการ ด้านผลลัพธ์การทำงาน ด้านการขยายผลพัฒนาต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ ทีมสุขภาพ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่ ที่มีส่วนร่วมการพัฒนางานหน่วยบริการปฐมภูมิ ทั้ง 7 จังหวัด อิสานตอนบน จำนวน 356 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามความคิดเห็นตามคุณลักษณะ 5 ด้าน ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา      ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า ด้านการบริการมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 3.56, S.D = 0.60 และด้านผลลัพธ์การทำงานค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ 3.39, S.D = 0.71 ส่วนด้านการวางแผน ค่าเฉลี่ย 3.45,  S.D = 0.71 ด้านการด้านการขยายผล การพัฒนาต่อเนื่อง ค่าเฉลี่ย 3.41, S.D = 0.67 และด้านการบริหารจัดการการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ค่าเฉลี่ย 3.40, S.D = 0.60  การวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้รูปแบบการบริหารจัดการหน่วยบริการปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 8 จังหวัดอุดรธานี ทำให้ สปสช. เขต 8 ได้เครื่องมือที่มีคุณภาพมาตรฐานสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประเมินศักยภาพหน่วยบริการปฐมภูมิที่เหมาะสมกับบริบทเขตสุขภาพที่ 8 ได้  

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04