ผลการพัฒนารูปแบบการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • banyat panjunghan โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

คำสำคัญ:

การป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี ช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง ตุลาคม 2561 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจโดยตรงในหอผู้ป่วยหนัก จำนวน 10 คน และผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงบรรยาย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าก่อนดำเนินการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล พบว่าพยาบาลมีการปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจถูกต้องเพิ่มขึ้นเป็นระดับมาก ร้อยละ 80 ได้แก่ 1)  การล้างมือที่มีประสิทธิภาพ 2) การจัดท่านอนและการพลิกตัว 3) การดูดเสมหะ 4)  การดูแลให้อาหารทางสายยาง 5) การดูแลความสะอาดภายในช่องปากและฟัน 6) การดูแลท่อช่วยหายใจและอุปกรณ์การหายใจ ภายหลังดำเนินการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติพยาบาลในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานีพบติดเชื้อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงจาก 13.3 ครั้งต่อ 1000  วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเป็น 0 ครั้งต่อ 1,000 วัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04