การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดของตำบลเทพคีรี อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • Waraporn Yubolpun โรงพยาบาลนาวังเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.หนองบัวลำภู
  • Nitiya Sarakhun โรงพยาบาลนาวังเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.หนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, การเฝ้าระวังภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน, โรคระบบหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือด

บทคัดย่อ

ภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นของประชาชนที่มาด้วยภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน ส่วนผู้รอดชีวิตมักพบความพิการตามมา หากได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมทันเวลา จะลดอัตราการตายและความพิการได้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research: PAR) ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan) วิเคราะห์สถานการณ์การเกิดโรคและผลกระทบ ขั้นที่2 ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action) สัมภาษณ์เจาะลึกและการสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับสถานการณ์ ปัญหาอุปสรรค และความต้องการของชุมชนในการเฝ้าระวัง ภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ขั้นที่ 3 การสะท้อนผลและการคืนข้อมูล (Reflection) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้แทน อ.บ.ต. ผู้นำชุมชน ภาคสาธารณสุข และประชาชน ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม อาสาสมัครมีความเข้มแข็งในการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง การประชาสัมพันธ์ประชาชนรับรู้ข่าวสาร การรวมกลุ่มส่งเสริมสุขภาพ ปัญหาอุปสรรคในการดูแลผู้ป่วยภาวะโรคระบบหัวใจและหลอดจากแกนนำ ประชาชนยังมีความรู้ไม่เพียงพอ การส่งเสริมสุขภาพหรือเฝ้าระวังยังไม่แพร่หลาย ขาดรูปแบบการเชื่อมโยงระบบบริการดูแลภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน การพัฒนาศักยภาพ     แกนนำด้านการดูแลภาวะฉุกเฉิน จัดตั้งกลุ่มส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04