ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดการสอนการอ่านเขียนโน้ตดนตรีสากลขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนอนุบาลทัพทัน

ผู้แต่ง

  • อิสระ กีตา บัณฑิตวิทยาลัย สาขาการออกแบบการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อินทิรา รอบรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ชุดการสอนการอ่านเขียนโน้ต, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการใช้ชุดการสอนการอ่านเขียนโน้ตดนตรีสากลขั้นพื้นฐาน และ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการสอน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนอนุบาลทัพทัน มีรูปแบบการวิจัยแบบ One group pretest-posttest ประชากรคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 โรงอนุบาลทัพทัน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 289 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น วิธีเลือกแบบเจาะจงจากนักเรียนที่สมัครเข้าชุมนุมดนตรีสากลตามแผนการออกแบบการเรียนรู้ 5 แผน เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ ๆ ละ 3 ชั่วโมง ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่าง่าย จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเขียนโน้ตดนตรีสากลขั้นพื้นฐาน และชุดการสอน มีค่าความเชื่อมั่น 0.67-1.00 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่าย (p) 0.23-0.63 ค่าอำนาจจำแนก (r) 0.20-0.80 และ ค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบเท่ากับ 0.92 ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนใช้การทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายของ Wilcoxon signed ranks test ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของการใช้ชุดการสอน มีค่าเท่ากับ 88.40/88.17 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการใช้ชุดการสอนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า การใช้ชุดการสอนมีรูปแบบน่าสนใจ เนื้อหาเข้าใจง่าย สามารถพัฒนาทักษะทางการเรียน และการอ่านเขียนโน้ตดนตรีสากลขั้นพื้นฐานได้อย่างเต็มศักยภาพ เป็นไปในทิศทางที่ดี เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ การวิเคราะห์ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และส่งผลให้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
กฤษฎา วงศ์คำจันทร์. (2551). ชุดการสอนการปฏิบัติกีตาร์ในวิชาทักษะดนตรี 1 คณะศิลปกรรมศาสตรมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
ฐิติพัฒน์ โกเมนพรรณกุล. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาปฏิบัติกีตาร์ 1 ที่มีต่อทักษะการปฏิบัติทางดนตรี สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
ณัฐพงศ์ สอนสุภาพ. (2557). การสร้างชุดการสอนเรื่องการอ่านโน้ตในบรรทัดห้าเส้นโดยวิธีการจินตภาพ. ศิลปกรรมศาสตร์, 6(2), 175-194.
พรวิไล จุลเสวก. (2550). การพัฒนาการเรียนรู้โน้ตดนตรีสากลโดยใช้ชุดฝึกทักษะเมโลเดียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองขวาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
ภราดา โรจนสุพจน์. (2551). การศึกษาประสิทธิภาพผลของการร้องเพลงไทยนมัสการโดยการอ่านโน้ตสากล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ, เชียงใหม่.
ภูมิพัฒน์ สิทธิ์ทัศน์กุล (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติคีบอร์ดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดการสอนดนตรีสากลเบื้องต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
รพีพล หล้าวงษา. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาดนตรีตะวันตก โดยใช้ชุดการสอนการปฏิบัติกีตาร์เบื้องต้น สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
สวัสดิ์ คะรุรัมย์. (2551). การพัฒนาแผนกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรีวิชาศิลปะพื้นฐาน (ดนตรี) ศ 31101 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
สันติ แก้วใจ. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านโน้ตดนตรีสากล วิชาดนตรีสากล ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีพื้นฐานทางดนตรี และไม่มีพื้นฐานทางดนตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชถัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
สุชัณษา รักยินดี. (2555). การพัฒนาบทเรียนวีดีทัศน์ เรื่องการเล่นคีย์บอร์ดเบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดรุณาราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
Dewey, J. (1959). Experience and Education. New York : Macmillan Publishing.
Thorndike, E. L. (1966). Humanlearning. Cambridge, Mass. : M.I.T. Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07