รูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • Chayaphatth Thesinthachot องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
  • Chittapol Chaimadan
  • Chakchai Sueprasertsith

คำสำคัญ:

ผู้นำ, การบริหาร, ท้องถิ่น, ชายแดน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับการปฏิบัติตามรูปแบบผู้นำ ระดับการบริหารงาน และรูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรเป็นพนักงานที่ปฏิบัติงานภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง จำนวน 600 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการกำหนดขนาดตัวอย่างของ Kerjcie and Morgan จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบค่าความเชื่อมั่นได้ท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบผู้นำของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว รูปแบบผู้นำที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ผู้นำแบบสร้างสรรค์ ( =3.86, S.D.=0.55) รองลงมาได้แก่ ผู้นำแบบทางสายกลาง (gif.latex?\bar{X} =3.82, S.D.=0.56) ผู้นำแบบทีมงาน (gif.latex?\bar{X} =3.81, S.D.=0.57) ผู้นำแบบถดถอย (gif.latex?\bar{X}=3.24, S.D.=0.70) และผู้นำแบบใช้อำนาจหน้าที่ (gif.latex?\bar{X}=3.22, S.D.=0.47) การบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.88, S.D.=0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการควบคุม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.00, S.D.=0.60) รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดองค์การ (gif.latex?\bar{X}=3.95, S.D.=0.59) ด้านการนำ (gif.latex?\bar{X}=3.79, S.D.=0.61) และด้านการวางแผน (gif.latex?\bar{X}=3.77, S.D.=0.64) รูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว ได้แก่ รูปแบบผู้นำแบบทีมงาน และรูปแบบผู้นำแบบทางสายกลาง สมการถดถอยมีอำนาจการทำนายหรือพยากรณ์ร้อยละ 57.00 โดย มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนายหรือพยากรณ์ เท่ากับ±0.34

References

คนึงนิจ ธรรมทิ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำกับการจัดการความขัดแย้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
จุฬาภรณ์ กลางถิ่น. (2553). พฤติกรรมการบริหารงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการพัฒนา สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2554). ภาวะผู้นำองค์กรยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท.
ฐิติกาญจน์ อนุวารีพงษ์, ร้อยเอกหญิง. (2550). รูปแบบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บังคับบัญชาระดับชั้นต่าง ๆ กรณีศึกษาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
ณรงค์ฤทธิ์ ปริสุทธิ์กุล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารองค์การกับภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ นวัตกรรมการบริหารการจัดการภาครัฐ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, ปทุมธานี.
ถาวร ยมรัตน์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำกับกระบวนการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, สุรินทร์.
ทิพารี กาญจนพิบูลย์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำตามทฤษฎีตาข่ายการบริหาร ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคกับการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพของผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ธนวัฒน์ ไคร้วานิช. (2550). การศึกษารูปแบบภาวะผู้นำตามทฤษฎีตาข่ายภาวะผู้นำของพนักงานบริษัท บวิค-ไทย จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ภิชญาภา สนิทพจน์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
รวีวรรณ สุดเสน่หา. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผลองค์การขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
ลักขณา ฤาชา. (2552). ภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ลือชา เสถียรวิรภาพ. (2550). ภาวะผู้นำกับความพึงพอใจในงานของผู้ใต้บังคับบัญชา กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง ในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
วินิต วิไลวงษ์วัฒนกิจ. (2551). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัยระดับตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สำนักงานสถิติจังหวัดสระแก้ว. (2556). รายงานสถิติจังหวัด พ.ศ. 2556. สระแก้ว : ไทยแก้ว.
สุพัตรา บริบาล. (2554). ภาวะผู้นำกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนในจังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.
สุภาพร อ่อนแก้ว. (2554). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสำนักข่าวกรองแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมร กิ่งเกษม. (2551). พฤติกรรมการบริหารงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญยาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการพัฒนา สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
อัญชลี โม้ดา. (2550). การศึกษาการรับรู้ความสามารถในตัวเอง และภาวะผู้นำแบบตาข่ายบริหาร ที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างอำนาจในงานของโรงพยาบาล โรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
Bartol, K. M., & Martin, D. C. (1997). Management (2nd ed.). New York : McGraw-Hill.
Blake, R., & Mouton, J. S. (1985). The Managerial Grid III. Houston : Gulf Publishing.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07