การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์

ผู้แต่ง

  • Chayapol Thongphukdee มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สมบูรณ์ ตันยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สิทธิศักดิ์ จุลศิริพงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สิรินาถ จงกลกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ลลิตา ธงภักดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อทักษะผู้เรียน พัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้เพื่อทักษะผู้เรียน ของครูผู้สอนในโรงเรียนต้นแบบโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ของครูเพื่อศิษย์ และ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนต้นแบบ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เพื่อทักษะผู้เรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอน และนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1-7 ที่มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมเป็น PLC ปีการศึกษา 2558 ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านโกรกลึก อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำแนกเป็น ครูผู้สอน จำนวน 8 คน และ นักเรียน จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินชั้นเรียน และแบบบันทึกการสะท้อนผลในการจัดกิจกรรม ทดสอบค่าความสอดคล้องได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการออกแบบหน่วยการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน มีความสอดคล้อง เชื่อมโยง และความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=4.68, S.D.=0.36) โดยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถทางด้านภาษา และแบบทดสอบวัดความสามารถทางด้านเหตุผล มีค่าความสอดคล้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแกนกมีความเหมาะสม และมีความเชื่อมั่นได้ส่งผลให้นักเรียนมีคะแนนความก้าวหน้าด้านผลสัมฤทธิ์ (ระหว่าง 9.40-12.53) ด้านความสามารถทางภาษา (ระหว่าง 5.00-5.92) และด้านความสามารถทางเหตุผล (ระหว่าง 4.50-6.20) แสดงว่า นักเรียนมีความสามารถทั้ง 3 ด้าน หลังเรียนเพิ่มขึ้น

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : ตถาตา พับลิเคชั่น.
Hord, S. M. (1997). Professional Learning Communities:Communities of Continuous Inquiry and Improvement [Internet]. Southwest EducationalDevelopment Laboratory. Retrieved March 17, 2017, from https:/www.sedl.org/siss/plccredit.html
Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practiceof the Learning Organization. Doubleday, New York, NY: MCB UP Ltd.
Sergiovanni, T. (1994). Building community in schools.San Francisco, CA : Jossey Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07