ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรก

Factors Associated with Parenting Stress among Grandmothers Raising Their Infant Grandchildren

ผู้แต่ง

  • วิวรรณา คล้ายคลึง
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • จินตนา วัชรสินธุ์

คำสำคัญ:

ความเครียดในการทำบทบาทแม่ของ ย่า/ยาย, ย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรก, Parenting stress of grandparents, grandparents raising infant grandchildren

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของ ย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรก กลุ่มตัวอย่างคือ ย่า/ยายที่ทำบทบาทหลักแทนพ่อแม่เป็นผู้เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรก เป็นระยะเวลา 1 เดือนขึ้นไปในจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสกลนคร จำนวน 100 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลาน แบบสอบถามความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าต่อตนเองในการทำบทบาท และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลานวัยขวบปีแรก มีความเครียดในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 36.00 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของ ย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลาน ได้แก่ ความรู้สึกเป็นภาระด้านการเงิน (r =.249, p<.05) ความรู้สึกเป็นภาระด้านกิจวัตรประจำวัน (r =.306, p<.01) และความรู้สึกเป็นภาระด้านสุขภาพ (r =.350, p<.01) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความเครียดในการทำบทบาทแม่ของย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลาน ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าต่อตนเองในการทำบทบาท (r =-.266, p<.01) และการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (r = -.314, p<.01) ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้ พยาบาลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการดูแลย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลาน ควรมีการประเมินความเครียดในการทำบทบาทของย่า/ยายอย่างต่อเนื่อง และให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมและลดภาระด้านต่างๆให้แก่ย่า/ยาย

 

 

 

-------------------------------

 

Abstract

The objectives of this study were to examine level of parenting stress and factors associated with parenting stress among grandmothers who raised their infant grandchildren. A total sample of 100 grandmothers who were primary caregivers of their infant grandchildren of at least 1 month in Ubon Ratchathani province, Roi-ed province, and Sakolnakorn province was recruited in the study by using multi-staged random sampling technique. Data were collected by using questionnaires including the Parenting Stress Index Short Form, the caregiver burden questionnaires, the self-esteem questionnaire, and the social support questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson product moment correlation coefficients.

     The results showed that 36% of grandmothers reported high level of parenting stress.  Factors that had significant positive relationship with parenting stress were caregiving burden in the aspects of financial (r =.249, p<.05), daily activities (r =.306, p<.01) and health (r =.350, p<.01). Self-esteem and family social support were found to have significant negative relationship with parenting stress (r = -.266, p<.01; r = -.314, p<.01 respectively). These findings suggest that nurses should monitor and assess stress level of grandparents who were primary caregivers of grandchildren and provide appropriate interventions by focusing on promoting social support and decreasing caregiver burden.

 

 

References

จริญญา โคตรชนะ. (2553). ผลของการให้กลุ่มสนับสนุนทางสังคมต่อศักยภาพการอบรมเลี้ยงดูเด็ก วัยก่อนเรียน และความเครียดของย่า ยาย ในอำเภอภูกรดึง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลครอบครัว, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดวงหทัย ยอดทอง, วรรณา คงสุริยะนาวิน, อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง, และอัจฉรา สี่หิรัญวงศ์.
(2557). ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลกับอาการซึมเศร้าในปู่ย่าตายายที่ดูแลหลาน. วารสารการพยาบาล, 29(1), 108 – 121.
รัตโนทัย พลับรู้การ. (2556). ตำราพัฒนาการ และพฤติกรรมเด็ก เล่ม 3 การดูแลสุขภาพเด็กดี. กรุงเทพฯ: ยอนเอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด.
ศุกรี ศิริบูรณ์. (2542). สุขภาพจิตของปู่ย่าตายายที่เป็นผู้ดูแลหลักของเด็กอายุ 0 – 5 ปีในเขตอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีษะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์), สาขาวิชาเอกอนามัยครอบครัว, มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์, และอาภาพร เผ่า
วัฒนา. (2553). รายงานวิจัยเรื่องความสุขและวิถีชีวิตของผู้สูงอายุหญิงที่เลี้ยงหลานในเขตชนบทภาคเหนือของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิฑูรย์การปก (1997) จำกัด.
สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์, และอาภาพร เผ่า
วัฒนา. (2555). สุขภาพ และความรู้สึกมีคุณค่าต่อตนเองของย่า/ยายที่เลี้ยงดูหลานในเขตช นบทของประเทศไทย. Journal Medical Associated Thailand, 95(6), 1-7.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). ลักษณะครัวเรือน. เข้าถึงได้จาก
http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_family.jsp
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). ประชากรย้ายถิ่น. เข้าถึงได้จาก
http://service.nso.go.th/nso/web/survey/survey_pop.html
Abidin, R. R. (1995). Parenting Stress Index: Professional manual (3rd ed.). Odessa, FL:
Psychological Assessment Resources.
Butler, F., & Zakori, M. (2005). Grandmother caregiving, family life stresses, and depressive symptoms. Western Journal Nurses, 31(3), 389–408.
Musil, C., Youngblut, J. M., Ahn, S., & Curry, V. L. (2002). Parenting stress: A comparison of grandmother caretakers and mothers. Journal Mental Health Aging, 8(3), 197 – 210
Given, C., Given, B., Stommel, M., Collins, C., King, S., & Franklin, S. (1992). The caregiver reaction Assessment (CRA) for caregiver to person with chronic physical and mental impairments. Research in Nursing and Health, 15, 271-283.
Dardas, L. L., & Ahmad, M. M. (2013). Psychometric properties of the Parenting Stress Index with parents of children with autistic disorder. Journal of Intellectual Disabillity Research, 1 – 12.
Minkler, M., Fuller-Thomson, E., Miller, D., & Driver, D. (2005). African American Grandparents raising grandchildren: a national study using the Census 2000 American Community Survey. Journal Gerontologist & Psychologist Science Sociated, 60(2), 82 – 92.
Pearlin, L. I., Mullan, J., T., Semple, S., J., & Skaff, M., M. (1990). Caregiving and the stress process: An overview of concepts and their measures. Gerontologist, 25, 32-36.
Sands, R. G., & Globerg-Glen, R. S. (2000). Factors associated with stress among grandparents raising their grandchildren. Family Relations, 49(1), 97-105.
Srinon, R. (2015). A causal model of well-being among grandmothers raising grandchildren of their adolescent daughters. Doctoral Dissertation (PhD. in Nursing Science), Faculty of nursing, Burapha University.
THE ISAAN RECORD. 2016. เจาะประเด็น “ครอบครัวแหว่งกลาง” ภาวะที่เกิดขึ้นในภาคอีสาน.
เข้าถึงได้จาก http://isaanrecord.com/2016/02/01/ครอบครัวแหว่งกลาง-ภาว/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-03-2018