ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการดูแลผู้รับบริการมุสลิม

ผู้แต่ง

  • หทัยรัตน์ ชลเจริญ
  • พวงผกา คงวัฒนานนท์
  • วนลดา ทองใบ

คำสำคัญ:

สมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม, พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, ผู้รับบริการมุสลิม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการดูแลผู้รับบริการมุสลิม กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโท ที่ได้รับวุฒิบัตร การพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) และปฏิบัติงานในเขตภาคกลาง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน สิงหาคม ถึงเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 132 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตอบเอง ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การได้รับการอบรมที่ส่งผลต่อสมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ค่านิยมต่อวัฒนธรรมที่แตกต่าง สิ่งสนับสนุนเชิงนโยบายในการทำงาน และแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมโดยใช้แนวคิดสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของแคมพินฮา บาโคท วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และการทดสอบแมนวิทนีย์ ยู

            ผลการศึกษาพบว่า ระดับสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการดูแลผู้รับบริการมุสลิมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M= 2.85, SD = .31) ประสบการณ์หลังจบปริญญาโท ประสบการณ์หลังอบรมเวชปฏิบัติ และค่านิยมต่อวัฒนธรรมที่แตกต่างมีความสัมพันธ์ทางบวก (rs= .99, p <.01, rs= .25, p < .01 และ rs= .23, p <.01 ตามลำดับ) และการอบรมที่ส่งผลต่อสมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนมีความสัมพันธ์ทางลบ กับสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z= -2.28, p<.05) จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมค่านิยมทางบวกต่อผู้ที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างให้กับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน โดยเน้นการให้ความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการให้การดูแลผู้รับบริการที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

References

Campinha-Bacote, J. (2003). A model and instrument for addressing cultural competence in health care. Journal of Nursing Education, 38(5), 203-207.
Carroll, A. B. (2008). The pyramid of corporate social responsibility. Business Horizons, 34(4), 39-48.
Chukaew, S. (2012). Knowledge, attitude, and practice perceived by nurses in helping and promoting caregivers’ health. Ramathibodi Nursing Journal, 18(2), 249-258. (in Thai)
Djafari, F., Lesk, M. R., Harasymowyez, P. L., Desjardins, D., & Lachaine, J. (2009). Determinants of adherence to glaucoma medical therapy in a long-term patient population. Journal of Glaucoma, 18(3), 238-242.
Hiranchunha, S. (2008). Perception of Thai nursing students and faculty’s competence toward caring for culturally diverse clients. The Journal of Nursing Council, 24(1), 99-111. (in Thai)
Hiranchunha, S., Sangjun, H., Songwathana, P., & Petpichetchian, W. (2007). Cultural competence in nursing: Concept to practice. The Journal of Nursing Council, 22(1), 9-27. (in Thai)
Hughes, K. H., & Hood, L. J. (2007). Teaching method and outcome tool for measuring cultural sensitivity in undergraduate nursing students. Journal of Transcultural Nursing, 18(1), 57-62.
Leininger, M. (2002). Cultural care theory: A major contribution to advance transcultural nursing knowledge and practice. Journal of Transcultural Nursing, 13, 189-192.
Nakagasien, P. (2013). The study of the way life, health problems and /needs of Mon migrant workers under Mon’s socio-cultural context of Samut Sakorn province, Thailand. Journal of The Royal Thai Army Nurse, 4(3), 105-115. (in Thai)
National Statistical Office. (2012). The 2011 survey on conditions of society and culture. Bangkok: Ministry of Information and Communication Technology. (in Thai)
Polit, D. F., & Beck, C. T., (2006). The content validity index: Are you sure you know what’s being reported? Critique and recommendations. Research in Nursing & Health, 29, 489-497.
Promsaad, K. (2009). Nurse’s cultural competency in health care service in a multicultural setting: The three southern Thai border provinces. Unpublished master thesis, Faculty of Nursing Prince of Songkla University. (in Thai)
Puanduang, A. (2011). Factors influencing competency of professional nurses in primary health care units under the jurisdiction of public health inspection zone 3. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 19(3), 37-53. (in Thai)
Thorndike, R. M. (1978). Correlation procedures for Research. Biomedical Journal 21(4), 403.
Sandhu, C. F. (1994). Occupational stress: Personal and professional approaches. Journal of Behavioral Medicine, 17, 309-29.
Sawaidee, P. (2016). Factors related to self-care ability among people with mobility impairment in Banglamung district, Chon Buri province. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 24(1), 1-19. (in Thai)
Siriphan, S. (2009). Teaching methods for enhancing cultural competency of nursing students based on theoretical concepts of Campinha-Bacote. Journal of Princess Naradhiwas University, 6(1), 146-157.
Songwattana, P. (2014). Nursing research across cultures: Research concepts and issues. Thai Journal of Nursing Council, 29(4), 5-21.). (in Thai)
Sukcharoen, Y. (2015). Factors related to job performance competency among registered nurses in sub-district health promotion hospitals, Nakhonpathom province. Journal of Princess Naradhiwas University, 2(2), 14-26. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-03-2018