จรรยาบรรณ
มาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้เขียนบทความ
- การรับรองความซ้ำซ้อน
ผู้เขียนต้องรับผิดชอบและรับรองว่าบทความที่ส่งมาพิจารณาในวารสารปัญญาปณิธานไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาในวารสารอื่น
- การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การส่งบทความและการอ้างอิงที่กำหนดโดยวารสารอย่างเคร่งครัด
- การจัดเตรียมต้นฉบับ
ผู้เขียนต้องปรับแต่งบทความให้ถูกต้องตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน โดยเฉพาะรูปแบบการจัดเตรียมต้นฉบับ เพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกันในการตีพิมพ์
- จริยธรรมการวิจัยและการป้องกันการคัดลอกผลงาน
ผู้เขียนต้องไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานผู้อื่น โดยวารสารกำหนดความซ้ำซ้อนผ่านโปรแกรม CopyCat ในระบบ Thaijo ไม่เกิน 25% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562
- ความถูกต้องของรายชื่อผู้เขียน
ชื่อผู้เขียนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำบทความหรือการวิจัยเท่านั้น หากตรวจพบว่ามีผู้ที่ไม่มีส่วนร่วม ทางวารสารจะถอนบทความออกทันที
- การอ้างอิงและป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์
ผู้เขียนต้องระบุแหล่งที่มาของเนื้อหา ภาพ ตาราง หรือข้อมูลที่นำมาใช้ในบทความอย่างถูกต้อง และรับผิดชอบในกรณีเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีข้อพิพาท วารสารจะไม่รับผิดชอบใด ๆ และจะดำเนินการถอนบทความออกจากการเผยแพร่ทันที
- ความถูกต้องของรายการอ้างอิง
ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่เนื้อหาและรูปแบบ ห้ามอ้างอิงเอกสารที่ไม่ได้อ่าน และควรอ้างอิงเฉพาะที่จำเป็นอย่างเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด
- การปรับแก้ตามผลประเมิน
ผู้เขียนต้องปรับแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินและกองบรรณาธิการภายในเวลาที่กำหนด หากไม่สามารถดำเนินการได้ทันเวลา การตีพิมพ์อาจถูกเลื่อนออกไปหรือถอนบทความ
- การระบุแหล่งทุนและผลประโยชน์ทับซ้อน
ผู้เขียนควรระบุชื่อแหล่งทุนที่สนับสนุนงานวิจัย (ถ้ามี) และแจ้งผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี) อย่างชัดเจน
- ความถูกต้องของข้อมูล
ผู้เขียนต้องรายงานข้อมูลที่ถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง ห้ามสร้าง ปลอมแปลง บิดเบือน หรือเลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่สนับสนุนข้อสรุปของตนเอง
- การอ้างอิงเอกสารที่ถูกถอดถอน
ห้ามอ้างอิงเอกสารที่ถูกถอดถอน เว้นแต่เป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการถอดถอน โดยต้องระบุสถานะของเอกสารนั้นไว้ในรายการอ้างอิงอย่างชัดเจน
มาตรฐานจริยธรรมของบรรณาธิการ
- การดำเนินงานตามจริยธรรมและนโยบาย
บรรณาธิการต้องกำกับดูแลให้การดำเนินงานของวารสารเป็นไปตามนโยบาย วัตถุประสงค์ และจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามประกาศศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) 21 กรกฎาคม 2566
- การจัดการบทความที่ผิดจริยธรรม
บรรณาธิการต้องดำเนินการอย่างเหมาะสมในกรณีตรวจพบการกระทำผิดจริยธรรม เช่น การคัดลอกผลงาน (Plagiarism) โดยวารสารกำหนดความซ้ำซ้อนผ่านโปรแกรม CopyCat (ไม่เกิน 25%)
- การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
บรรณาธิการต้องป้องกันการตีพิมพ์บทความที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เช่น การเผยแพร่บทความของตนเอง โดยข้ามขั้นตอนการตรวจคุณภาพจากผู้ประเมินที่เป็นกลาง
- การคัดเลือกบทความคุณภาพ
บรรณาธิการต้องตรวจสอบคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์ โดยพิจารณาความสอดคล้องกับนโยบายของวารสาร ความชัดเจนของเนื้อหา และการนำเสนอแนวคิดเชิงทฤษฎีใหม่หรือแบบจำลองที่สร้างสรรค์
- การรักษาความลับ
บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนหรือผู้ประเมินบทความต่อบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ตามกระบวนการประเมินแบบ Double-Blind Peer Review
- การป้องกันการตีพิมพ์ซ้ำ
บรรณาธิการต้องตรวจสอบบทความที่ส่งมาให้แน่ใจว่าไม่เคยตีพิมพ์ที่อื่น โดยใช้โปรแกรมตรวจสอบที่น่าเชื่อถือ หากพบความซ้ำซ้อนเกินกำหนด ต้องแจ้งผู้เขียนเพื่อขอคำชี้แจง และพิจารณาปฏิเสธการตีพิมพ์หากจำเป็น
- การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนหรือผู้ประเมิน เพื่อรักษาความโปร่งใสและธรรมาภิบาลของวารสาร
- การไม่ใช้ข้อมูลบทความเพื่อประโยชน์ส่วนตน
บรรณาธิการต้องไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของบทความไปใช้เป็นผลงานของตนเอง
- การประเมินคุณภาพผลงานวิจัย
บรรณาธิการต้องตรวจสอบบทความที่มีระเบียบวิธีวิจัยถูกต้อง น่าเชื่อถือ และพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจตีพิมพ์เผยแพร่
- การถอนบทความที่มีปัญหา
หากตรวจพบว่าบทความมีการลอกเลียนหรือปลอมแปลงข้อมูล และผู้เขียนปฏิเสธการถอนบทความ บรรณาธิการมีสิทธิ์ดำเนินการถอนบทความโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน
- การบริหารงานกองบรรณาธิการ
บรรณาธิการต้องประเมินความสามารถและมอบหมายงานให้เหมาะสมกับความเชี่ยวชาญของกองบรรณาธิการ
- การควบคุมคุณภาพการอ้างอิง
บรรณาธิการต้องติดตามดูแลการอ้างอิงบทความให้ถูกต้องและสอดคล้องกับเนื้อหา พร้อมป้องกันการร้องขอให้อ้างอิงบทความในลักษณะไม่เหมาะสม
- ความโปร่งใสในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
บรรณาธิการต้องกำหนดและประกาศขั้นตอนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม Page Charge หรือ Processing Fee อย่างชัดเจน พร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ประกาศไว้อย่างเคร่งครัด
มาตรฐานจริยธรรมของผู้ประเมินบทความ
- การรับบทความตามความเชี่ยวชาญ
ผู้ประเมินบทความควรรับเฉพาะบทความที่ตนมีความถนัด มีคุณวุฒิ หรือมีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องเท่านั้น โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหา คุณภาพการวิเคราะห์ ความเข้มข้นของผลงาน และแนะนำผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แต่ผู้เขียนอาจยังไม่ได้อ้างถึง ทั้งนี้ ผู้ประเมินไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับในการตัดสินบทความ และควรปฏิเสธหากบทความไม่อยู่ในขอบเขตความเชี่ยวชาญของตน
- ความยุติธรรมและตรงต่อเวลา
ผู้ประเมินบทความต้องให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการอย่างตรงไปตรงมา มีความยุติธรรม ปราศจากอคติ และไม่ลำเอียง พร้อมทั้งส่งผลการประเมินให้ทันตามกำหนดเวลาที่วารสารกำหนด
- การรักษาความลับ
ผู้ประเมินต้องรักษาความลับของบทความที่ได้รับการประเมิน ห้ามเปิดเผยข้อมูลให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ทั้งในระหว่างและหลังเสร็จสิ้นกระบวนการประเมิน
- การแจ้งผลประโยชน์ทับซ้อน
หากผู้ประเมินพบว่าตนมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ จนอาจไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นได้อย่างอิสระ ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันทีและปฏิเสธการประเมินบทความดังกล่าว
- การแก้ไขชื่อเรื่อง
สำหรับบทความวิชาการ ผู้ประเมินสามารถแนะนำให้แก้ไขชื่อเรื่องได้ตามความเหมาะสม แต่สำหรับบทความวิจัย ผู้ประเมินควรจำกัดการแก้ไขเฉพาะข้อผิดพลาดด้านตัวสะกดเท่านั้น และไม่ควรเสนอให้เปลี่ยนชื่อเรื่อง
- การใช้ข้อมูลในบทความ
ผู้ประเมินต้องไม่ใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของบทความที่กำลังประเมินไปเป็นผลงานของตนเองโดยเด็ดขาด
- การแจ้งปัญหาความซ้ำซ้อน
หากผู้ประเมินพบว่าบทความมีความซ้ำซ้อนหรือเหมือนกับผลงานอื่น ผู้ประเมินต้องแจ้งบรรณาธิการวารสารทันที พร้อมแสดงหลักฐานประกอบให้ชัดเจน
แปลและปรับปรุงจาก
https://tci-thailand.org/view?slug=ethical_assessment2023
ประกาศของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) เรื่องการประเมินด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI วันที่ 21 กรกฎาคม 2566