ผลการประยุกต์อุปกรณ์พ่นยาแบบฝอยละอองต่อพฤติกรรมยอมรับการพ่นยาและผลลัพธ์ทางคลินิกในเด็กเล็กที่มีภาวะหลอดลมหดเกร็ง

Main Article Content

วรฤทัย กำลังหาญ
เสริมศรี สันตติ
เรณู พุกบุญมี
พิศสมัย อรทัย

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการประยุกต์อุปกรณ์พ่นยาแบบฝอยละอองต่อพฤติกรรมการยอมรับการพ่นยาและผลลัพธ์ทางคลินิก 4 ด้านคือ ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง อัตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ และระดับเสียงวี๊ด ในกลุ่ม ตัวอย่างเด็กเล็กที่มีภาวะหลอดลมหดเกร็งและได้รับการรักษาด้วยการพ่นยาขยายหลอดลมชนิดซัลบูตามอลด้วยเครื่องกำเนิดฝอยละอองขนาดเล็ก ในแผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรมของโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป 2 แห่ง ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดสุ่มเข้ากลุ่มโดยการโยนเหรียญ แบ่งเป็น กลุ่มทดลองซึ่งได้รับการพ่นยาด้วยอุปกรณ์แบบประยุกต์ 20 ราย และกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการพ่นยา ด้วยอุปกรณ์แบบปกติ 20 ราย เก็บข้อมูลโดยวัดอาการทางคลินิกทั้ง 4 ด้านก่อนการพ่นยา และวัด หลังการพ่นยาเสร็จ 15 นาที ประเมินพฤติกรรมยอมรับการพ่นยาจากเทปบันทึกภาพเคลื่อนไหวของเด็กเล็กขณะรับการพ่นยา วิเคราะห์พฤติกรรมยอมรับการพ่นยา อัตราการเต้นของหัวใจ และระดบั เสียงวี๊ด ด้วยสถิติ Mann Whitney U-test วิเคราะห์ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงและ อัตราการหายใจด้วยสถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า เด็กเล็กกลุ่มที่ได้รับการพ่นยาด้วย อุปกรณ์แบบประยุกต์มีพฤติกรรมยอมรับการพ่นยามากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพ่นยาด้วยอุปกรณ์ แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง อัตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ และระดับเสียงวี๊ดระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้อุปกรณ์การพ่นยาแบบประยุกต์จะยังไม่ถูกพิสูจน์ว่ามีผลต่อผลลัพธ์ทางคลินิกตามที่คาดหวังซึ่งต้องการการศึกษาต่อไป แต่ส่งผลในด้านทำให้เด็กยอมรับการพ่นยามากขึ้น เนื่องจากอุปกรณ์ได้ถูกประยุกต์ให้มีความเป็นมิตร และเหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กเล็ก

คำสำคัญ: ภาวะหลอดลมหดเกร็ง การพ่นยาแบบฝอยละออง พฤติกรรมยอมรับการพ่นยา ผลลัพธ์ทางคลินิก

 

Abstract

This study is a quasi-experimental research aimed to evaluate effects of a modified small volume nebulizer on the acceptable behaviors and clinical outcomes, including oxygen saturation, respiratory rate, heart rate, and the degree of wheezing sound, in young children with bronchospasm. Patients were treated with the aerosolized Salbutamol, with the regular and the modified small volume nebulizers, at outpatient pediatrics department of 2 hospitals in Thailand. Data were collected from July to October 2011. Purposive sampling was used to recruit the sample according to the inclusion criteria. Random assignment using coin flipping was employed to assign the tail of 20 subjects into the experimental group, which received the modified small volume nebulizer, and another of 20 subjects into the comparison group, which was received regular small volume nebulizer. Before receiving aerosol nebulization and 15 minutes after receiving nebulization, clinical outcomes and aerosol acceptable behaviors from video footage were measured. Aerosol acceptable behaviors, heart rate, and degree of wheezing sound between two groups were compared by using Mann-Whitney U-test. Oxygen saturation and respiratory rate per minute between two groups were compared by using Independent t-test. The research findings showed that the experimental group had a statistically significant higher level of acceptable behaviors than the comparison group. However, means of 4 clinical outcomes between before and after aerosol nebulization were not significantly different. In conclusion, even though the modified small volume nebulizer did not show any effect on clinical outcomes as expected, which needed for a further study, it made children more satisfied with aerosol treatment because it is appropriate for the cognitive development of young children.

Keywords: Bronchospasm, Small volume nebulizer, Acceptable behaviors, Clinical outcomes

Article Details

How to Cite
1.
กำลังหาญ ว, สันตติ เ, พุกบุญมี เ, อรทัย พ. ผลการประยุกต์อุปกรณ์พ่นยาแบบฝอยละอองต่อพฤติกรรมยอมรับการพ่นยาและผลลัพธ์ทางคลินิกในเด็กเล็กที่มีภาวะหลอดลมหดเกร็ง. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 10 [cited 2024 Mar. 29];19(1):48-59. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9110
Section
บทความวิจัย