การปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านแรงงานสัมพันธ์ของสถานประกอบกิจการที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติสถานประกอบกิจการดีเด่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง

Main Article Content

ศิรินทรา วิสาพาค
พรรัตน์ แสดงหาญ
วรรณวิชนี ถนอมชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาการปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านแรงงานสัมพันธ์ของสถานประกอบกิจการที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติสถานประกอบกิจการดีเด่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง เรื่อง ระบบแรงงานสัมพันธ์แบบทวิภาคี ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์ ความคาดหวังด้านแรงงานสัมพันธ์ในอนาคตและรูปแบบการปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านแรงงานสัมพันธ์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยยุทธศาสตร์การวิจัยแบบกรณีศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง ทำการเก็บรวมรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า ระบบแรงงานสัมพันธ์แบบทวิภาคีของสถานประกอบกิจการที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติสถานประกอบกิจการดีเด่นเป็นความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ช่วยให้เกิดความเข้าใจและความไว้วางใจในการทำงาน โดยการบริหารแบบมีส่วนร่วมเปิดโอกาสให้ลูกจ้างได้แสดงความคิดเห็นและการจัดการข้อร้องเรียน อย่างไรก็ตาม การสื่อสารเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกัน สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาคือ การสื่อสารข้อมูลผ่านตัวแทนลูกจ้างและประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้เกิดความชัดเจน ทั้งนี้ ลูกจ้างมีความคาดหวังให้สถานประกอบกิจการส่งเสริมการมีส่วนร่วม โดยการสนับสนุนกิจกรรมภายในและกิจกรรมภายนอกสถานประกอบกิจการ การสนับสนุนโครงการหรือชมรมลูกจ้าง การส่งเสริมความสามัคคี การทบทวนสวัสดิการแรงงานและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. 2549. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: เรียงสามกราฟฟิคดีไซด์.

2. จำเนียร จวงตระกูล. 2553. การวิจัยเชิงคุณภาพ: เครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล.

3. จิตติมา อัครธิติพงศ์. 2557. การจัดการพนักงานสัมพันธ์. เอกสารประกอบการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

4. นวรัตน์ ชมชื่น. 2555. วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน: กรณีศึกษาสถานประกอบกิจการขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติสถานประกอบกิจการดีเด่น. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

5. รัชนี พลพุทธา. 2554. บทบาทของสหภาพแรงงานและฝ่ายจัดการต่อการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ระบบทวิภาคี กรณีศึกษา บริษัท เซ็นทรัล มอเตอร์วีล (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

6. สมพงษ์ สุพัฒนคูณ. 2551. วิธีการบริหารจัดการที่ดี (Good practices): กรณีศึกษาการมุ่งเน้นทรัพยากรมนุษย์ ความผาสุกและความพึงพอใจในระบบแรงงานสัมพันธ์ ในบริษัท เอนไก ไทย จำกัด. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

7. สุภางค์ จันทวานิช. 2553. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

8. Emily Atieno Odhong and Jacob Omolo. 2014. An Analysis Of The Factors Affecting Employee Relations in the Flower Industry in Kenya, a Case of Waridi Ltd, Athi River. International Journal of Business and Social Science, 5(1), 147-160.

9. Krume Nikoloski, Janka Dimitrova, Blagica Koleva และ Emilija Miteva Kacarski. 2014. From Industrial Relations to Employment Relations with Focus on Employee Relations. International Journal of Sciences: Basic and Applied Research (IJSBAR). 2307(4531). 117-124.

10. Thomas Katua Ngui. 2016. Relationship between Employee Relation Strategies and Performance of Commercial Banks in Kenya. International Journal of Research in IT, Management & Engineering. 6(1). 17-52.