ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาบางนา

Main Article Content

ดร. ภูษิตย์ วงษ์เล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาบางนา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาบางนา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่เคยซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์จากห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาบางนา จำนวน 385 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาบางนา ในภาพรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก โดยผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านผลิตภัณฑ์ 2) ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มี อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน ให้ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ กรณีศึกษา ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาบางนา ในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนผู้บริโภคที่มี เพศ สถานภาพ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน ให้ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ กรณีศึกษา ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาบางนา ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นราศรี ไววนิชกุล และ ชูศักดิ์ อุดมศรี. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์แห่งมหาวิทยาลัย.

ผู้จัดการสามร้อยหกสิบองศา รายสัปดาห์. (2554). เฮาส์แบรนด์ไทยโตพรวด 76 % ยักษ์ค้าปลีกแข่งเปิดเซกเมนต์ใหม่. สืบค้น 11 เมษายน 2559, จาก https://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000045208.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

พิมพิกา ชวลิต. (2556). พฤติกรรมการบริโภคสินค้าตราเฉพาะ (House Brand) ขอผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ : กรณีศึกษา ห้างเทสโก้โลตัส สาขากาดคำเที่ยง. (รายงานการวิจัยปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบัน คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ภาวิณี กาญจนา. (2554). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : ท๊อป.

สลิล ดาวัน. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(1), 201-212.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนิรุทธ์ ผ่องแผ้ว. (2552). ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณีศึกษา เทสโก้ โลตัส เอกซ์เพรส. (รายงานการวิจัยคณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York : Happer and Row.

Kotler, P. T. and Keller, K. L. (2009). Marketing Management(13th ed.) New jersey : Prentice-Hall.

Kotler, P. T. and Armstrong, G. (2011). Principles of Marketing (14th edition). New Jersey : Pearson Prentice Hall.