การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลดต้นทุนการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ ในท่าเรือแหลมฉบัง โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงลำดับ

Main Article Content

รวมพล จันทศาสตร์
ดร.สุรัตน์ จันทองปาน
ไชยยศ ไชยมั่นคง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขนส่งสินค้าตู้
คอนเทนเนอร์ในท่าเรือแหลมฉบัง 2) เพื่อนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนของการขนส่ง
สินค้าตู้คอนเทนเนอร์ในท่าเรือแหลมฉบัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ท่าเรือ
แหลมฉบัง ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การดำเนินการด้านการขนส่งตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป จำนวน 5
บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัยคือ แบบสอบถาม เพื่อกำหนดน้ำหนักความสำคัญของ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ท่าเรือแหลมฉบัง วิเคราะห์ข้อมูลโดย
อาศัยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytics Hierarchy Process Technique - AHP) ผลการวิจัย
พบว่า ลำดับความสำคัญของรูปแบบการขนส่งสินค้าด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ 1)
ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง 2) ระยะเวลาในการขนส่ง 3) ความปลอดภัยในการขนส่ง 4) ความถี่ในการขนส่ง
ทั้งนี้ รูปแบบการขนส่งทางเรือมีความสำคัญที่สุดโดยคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 54 รองลงมา คือการ
ขนส่งโดยทางรถไฟ ร้อยละ 25 และทางถนน ร้อยละ 21 ตามลำดับ ดังนั้น อาจสรุปได้ว่ารูปแบบการ
ขนส่งทางเรือเหมาะสมที่สุดในการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ นอกจากนี้เมื่อศึกษาเรื่องน้ำหนัก
ของสินค้าในวิธีการขนส่งที่แต่ละวิธี โดยจัดลำดับความสำคัญจากน้ำหนักมากไปหาน้อย พบว่า การ
ขนส่งจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังจังหวัดสงขลา การขนส่งทางเรือมีค่าน้ำหนัก 0.479 การขนส่งทางราง
มีค่าน้ำหนัก 0.269 และการขนส่งทางถนนมีค่าน้ำหนัก 0.252

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนิต โสรัตน์. (2551). 3PL จัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ. Logistics Digest, 4(43), 31-32.

นฤเบศวร์ ทองแดง. (2552). การเปรียบเทียบการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ภายในประเทศ ทาง
ถนน ทางราง และชายฝั่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วรรณา ชีวานุกูล. (2547). การศึกษาต้นทุนค่าขนส่งการส่งออกสินค้ายางพาราจากภาคใต้ไปประเทศ
ญี่ปุ่น : กรณีศึกษาท่าเรือสงขลาและท่าเรือปีนัง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

ศิริพร ถิตย์ประเสริฐ. (2558). ศึกษาแนวทางในการลดต้นทุนการขนส่ง กรณีศึกษาบริษัทนำเข้า
ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน). (2560). กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น
Analytic Hierarchy Process: AHP. สืบค้น 22 มีนาคม 2560, จาก
http://www.dti.or.th/download/150319174753_3ahp4.pdf

สุระ พราหมณ์รักษา, และกมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2557). การประเมินทางเลือกรูปแบบการ
ขนส่งสำหรับกลุ่มสินค้าอะไหล่ยานยนต์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย).