การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22

Main Article Content

สุธิชล พ่อครวงค์
ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษา สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน 2) หาแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และ3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 กระบวนการในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Planning) ขั้นที่ 2 การปฏิบัติการ (Action) ขั้นที่ 3 การสังเกตการณ์ (Observation) และขั้นที่ 4 การสะท้อนกลับ (Refection) ซึ่งมีการดำเนินการ 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 11 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัย 1 คน ผู้ร่วมวิจัย 9 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 207 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ดังนี้

1.1 ด้านสภาพโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย แต่มีการจัดสภาพไม่เหมาะสม ขาดการดูแลเอาใจใส่ อุปกรณ์ ไม่ทันสมัย และมีสภาพไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

1.2 ด้านปัญหาการบริหารและจัดการการใช้แหล่งเรียนรู้ยังขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ ครูที่รับผิดชอบมีภาระการสอนมาก จึงไม่มีเวลาดูแลรับผิดชอบแหล่งเรียนรู้แต่ละแห่งอย่างเต็มที่ ทำให้ครูและนักเรียนไปใช้แหล่งเรียนรู้ไม่มากเท่าที่ควร

2. แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศ

3. ผลการติดตามและประเมินผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 พบว่า

3.1 ครูมีความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้น และทราบแนวทางที่จะพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ

3.2 ผลการดำเนินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ คือ มีการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการ ระบบดูแล และสภาพแวดล้อมแต่ละแหล่งเรียนรู้ให้ดีขึ้น จากผลการประเมินจากคณะกรรมการอยู่ในระดับมาก มีความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอยู่ในระดับมากทุกห้อง และมิสถิติในการเข้าใช้ทุกแห่งมากขึ้น

 

ABSTRACT

The purposes of this study were: 1) to investigate the current states and problems of school learning resource, 2) to find out guidelines for developing the school learning resource at Saharajrungsarid School, and 3) to follow up and evaluate the development of school learning resource at Learning Resource at Saharajrungsarid School under the Secondary Educational Service Area Office 22. This study employed two spirals of a four-stage participatory research process comprising planning, action, observation and reflection. The target group consisted of the researcher, 10 co-researchers and 207 respondents. The instruments used in this study were tests, a form of assessment, a form of observation and a form of interview. The statistics applied for data analysis were mean, percentage and standard deviation.

The findings of this study were as follows:

1. The current states and problems regarding school learning resource at Learning Resource at Saharajrungsarid School could be concluded that:

1.1 On states: The teachers faced a lack of knowledge, understanding and experiences in running the Development of school learning resource. And lack of responsible take care of school learning resource and them had low technology for use.

1.2 On problems: The school learning resource found that school was aware and appreciate in learning source management. It no good quality. And low support for development, and they have not a free time for take care. So that low using each the school learning source.

2. The guidelines for the guidance and counseling services at Saharajrungsarid School comprised : 1) the workshops, 2) the coaching supervision

3. The effects of the development school learning source at Saharajrungsarid School under the Secondary Educational Service Area Office 22 that:

3.1 Districts that teachers have knowledge and experience in development school learning source. Guideline for development school learning source.

3.2 The development is conducive to learning management systems and maintains a learning environment for the better. The results of the evaluation committee at a high level. Users are satisfied in every room and statistics in order to access any more.

Article Details

Section
บทความวิจัย