การพัฒนาการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราโดยใช้แบบฝึก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ไพวรรณ ชาติผา

Abstract

การเรียนรู้ภาษาไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70 / 70 ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึก ตามเกณฑ์ที่กำหนด ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการพัฒนาการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา โดยใช้แบบฝึก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองบัวแดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80 ถึง1.00 แผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า1.ประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา สาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 85.33/80.332. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.66463. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.334. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการพัฒนาแบบฝึกการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา โดยใช้แบบฝึกกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ไพวรรณ ชาติผา

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยอีสาน