การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตและ การใช้สื่อการเรียนรู้ในวิทยาลัยไชยสมบัติเทคโนโลยี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

บัวผัน สีหาจัก

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อและการใช้สื่อการเรียนรู้ในวิทยาลัยไชยสมบัติเทคโนโลยี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อและการใช้สื่อการเรียนรู้ และ 3) ติดตามและประเมินผลในการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อและการใช้สื่อการเรียนรู้โดยดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วยการวางแผน (Planning)การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observing)และการสะท้อนกลับ (Reflection) ผู้วิจัยและกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 25 คน ได้แก่ ผู้วิจัย และกลุ่มผู้ร่วมวิจัยเป็นครูผู้สอนในวิทยาลัยไชยสมบัติเทคโนโลยี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 10 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่วิทยากร 1 คน และตัวแทน ครูที่ทำการสอนสาขาช่างไฟฟ้า จำนวน 10 คน ครูที่ทำการสอนสาขาช่างยนต์ จำนวน 10 คน รวม20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบ แบบประเมิน และแบบสัมภาษณ์

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้ในวิทยาลัยไชสมบัติเทคโนโลยีแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า
1.1 สภาพครูยังขาดทักษะ ความรู้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอน งบประมาณในการผลิตสื่อมีไม่เพียงพอ สภาพสื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
1.2 ปัญหาของการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตและการใช้สื่อ พบว่า สื่อบางชิ้นมีสภาพเก่า ชำรุด ใช้การไม่ได้ สื่อที่ใช้ส่วนมากเป็นสื่อสำเร็จรูปที่มีราคาแพง ไม่ตรงตามเนื้อหา ทำให้การจัดการเรียนการสอนของครูไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ทำให้นักศึกษาขาดความเข้าใจ ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาของบทเรียน

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการผลิตและการใช้สื่อ ดำเนินการโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงานและการนิเทศติดตาม

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้ในวิทยาลัยไชสมบัติเทคโนโลยีแขวงสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปรากฏว่า ครูมีความรู้ทักษะ ครูมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการผลิตสื่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับเนื้อหา มีการจัดเก็บรักษาที่ถูกต้องพร้อมที่จะใช้งาน สามารถซ่อมแซมสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ โดยใช้วัสดุ-อุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นและประหยัดงบประมาณต้นทุนการผลิตน้อยตลอดจนมีวิธีการประเมินได้อย่างเหมาะสมซึ่งส่งผลให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปตามมาตรฐานของการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

Article Details

Section
บทความวิจัย