การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครู ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาลอากาศอำนวย (ชุมชนอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลตำบล อากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

อมรรัตน์ งามจิตร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาลอากาศอำนวย (ชุมชนอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลตำบลอากาศอำนวย 2) หาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพครู ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนเทศบาลอากาศอำนวย (ชุมชนอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลตำบลอากาศอำนวย และ 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครู ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาลอากาศอำนวย (ชุมชนอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลตำบลอากาศอำนวย โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย 13 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 12 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกการประชุมแบบบันทึกกิจกรรมแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพ และปัญหาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาลอากาศอำนวย (ชุมชนอุปถัมภ์) ปรากฎดังนี้
1.1 สภาพ พบว่า ครูทุกคนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการทำวิจัยในชั้นเรียนและมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน
1.2 ปัญหา พบว่า ครูขาดความรู้ ความเข้าใจและขาดทักษะ จึงทำให้ขาดความมั่นใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน ไม่สามารถดำเนินการตามกระบวนการวิจัยให้ครบตามขั้นตอน

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครู ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาลอากาศอำนวย (ชุมชนอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลตำบลอากาศอำนวย วงรอบที่ 1 ใช้แนวทางพัฒนา 2 แนวทางประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 2) การนิเทศภายใน วงรอบที่ 2 ใช้แนวทางพัฒนาโดยการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ (Coaching)

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครู ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาลอากาศอำนวย (ชุมชนอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลตำบลอากาศอำนวย

ด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ก่อนการพัฒนาผู้ร่วมวิจัย มีความรู้ความเข้าใจด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.00 จากคะแนนเต็ม 20 คิดเป็นร้อยละ 70.00 หลังจากได้รับการพัฒนา ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน เพิ่มมากขึ้น มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.30 คิดเป็นร้อยละ 96.50 และมีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 91.56

ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนพบว่า วงรอบที่ 1 ผลการประเมินงานวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 วงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น โดยผลการประเมินงานวิจัยในชั้นเรียนภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 และมีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 92.96

Article Details

Section
บทความวิจัย