การเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนผสมผสานกับการเรียนปกติที่มีต่อความสามามารถในการโต้แย้งและการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์ต่างกัน

Main Article Content

เขต ดอนประจำ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนผสมผสานกับการเรียนปกติที่มีต่อความสามามารถในการโต้แย้ง  และการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  ที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์ต่างกัน  จำนวน  60  คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster  Random  Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย  1)  แผนการจัดการเรียนรู้ประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์  จำนวน  3  เรื่อง  คือ การค้ามนุษย์เพื่อนำมาอุ้มบุญ  พลังงานทางเลือกจากมันสำปะหลัง  และการตัดต้นไม้เพื่อสร้างถนน  โดยใช้รูปแบบการเรียนผสมผสานและการเรียนปกติ  อย่างละ 3 แผน  แผนละ  3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  2)  แบบวัดความสามารถในการโต้แย้ง  จำนวน  4  ชุด ๆ ละ 4 ข้อ  และ  3)  แบบวัดการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์  ประกอบด้วย  5  ด้าน  ได้แก่  1)  การอนุมาน  2)  การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น  3)  การนิรนัย  4)  การตีความ  และ  5)  การประเมินข้อโต้แย้ง  จำนวน  30  ข้อ  สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน  ได้แก่  Paired  t - test  และ  F - test  (Two – way  ANCOVA  และ  Two – way  MANCOVA)

ผลการวิจัยพบว่า  1)  นักเรียนโดยส่วนรวม  นักเรียนที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์สูง  และนักเรียนที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์ต่ำหลังเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนผสมผสานมีการพัฒนาความสามารถในการโต้แย้งเพิ่มขึ้น จากการสอบครั้งที่ 1 – 4  และมีคะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์โดยรวมและเป็นรายด้านทั้ง 5 ด้าน เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  2)  นักเรียนที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์สูงหลังเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์มีการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์เป็นรายด้าน  2  คือ ด้านการนิรนัย  และด้านการประเมินข้อโต้แย้ง  มากกว่านักเรียนที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์ต่ำ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  3)  นักเรียนที่เรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่

เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนผสมผสานมีการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์เป็นรายด้าน  2  คือ  ด้านการอนุมาน  และด้านการประเมินข้อโต้แย้ง  มากกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนปกติ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  4)  มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนวิทยาศาสตร์กับรูปแบบการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ต่อความสามารถในการโต้แย้งและการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์โดยรวม และด้านการยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p < .025)

Article Details

Section
บทความวิจัย