การพัฒนาคู่มือการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนแบบร่วมมือ และการใช้ผังกราฟิก ที่มีต่อพฤติกรรมความร่วมมือ การคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

พรทิพย์ อาจวิชัย

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนแบบร่วมมือ และการใช้ผังกราฟิก ต่อพฤติกรรมความร่วมมือ การคิดแก้ปัญหา และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ประสิทธิผลและค่าขนาดอิทธิพล 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือ การคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียน ที่ได้รับการสอนด้วยคู่มือการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนแบบร่วมมือ และการใช้ผังกราฟิก
ก่อนเรียนและหลังเรียน  3) เปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือ การคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนระหว่างนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยคู่มือการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนแบบร่วมมือ และการใช้ผังกราฟิก และคู่มือการเรียนตามปกติ  4) เปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือ การคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกันที่ได้รับการสอนด้วยคู่มือการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียน
แบบร่วมมือ และการใช้ผังกราฟิก  5) หาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการสอน 2 วิธี กับระดับความฉลาดทางอารมณ์ที่ส่งผล
ต่อพฤติกรรมความร่วมมือ การคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนดงมอนวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำนวน
2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 50 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลาก ห้องมัธยมศึกษา 4/2  จำนวน 25 คน เป็นกลุ่มทดลอง และห้องมัธยมศึกษา 4/1 จำนวน 25 คน เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) คู่มือการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนแบบร่วมมือ และการใช้ผังกราฟิก  2) คู่มือการเรียนรู้ตามปกติ  3) แบบวัดพฤติกรรมความร่วมมือ  4) แบบสังเกตพฤติกรรมความร่วมมือ 5) แบบวัดการคิดแก้ปัญหา 6) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมี 7) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล  ค่าขนาดอิทธิพล  สถิติทดสอบค่าที  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ 

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                 1. คู่มือการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนแบบร่วมมือ และการใช้ผังกราฟิก ที่มีต่อพฤติกรรมความร่วมมือ การคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าดัชนีประสิทธิผลที่ระดับ 0.56, 0.55 และ 0.61 และมีค่าขนาดอิทธิพลตามเกณฑ์มาตรฐานที่ระดับ 1.49, 2.98 และ 3.52 ตามลำดับ                

                 2. พฤติกรรมความร่วมมือ การคิดแก้ปัญหา และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนแบบร่วมมือ และการใช้ผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 3. พฤติกรรมความร่วมมือ การคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนแบบร่วมมือ และการใช้ผังกราฟิก สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือการเรียนรู้ตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 4. พฤติกรรมความร่วมมือ การคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) เมื่อได้รับการสอนโดยใช้คู่มือการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนแบบร่วมมือ และการใช้ผังกราฟิก  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 5. วิธีการเรียนรู้ และความฉลาดทางอารมณ์ ไม่มีปฏิสัมพันธ์ทำให้พฤติกรรมความร่วมมือ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกัน แต่ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวแปรนั้น มีปฏิสัมพันธ์ทำให้การคิดแก้ปัญหา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

ABSTRACT

                The purposes of this study were 1) to develop a manual of constructivism-based learning, cooperative learning and making use of graphic diagram which has an effect upon cooperation, problem solution thinking and learning achievement by meeting the quality based on the effectiveness index criterion and effect size values, 2) to compare cooperative behavior, problem solution thinking, and learning achievement among the students who were taught with the manual of cooperative learning, making use of graphic diagram and constructivism-based learning gained before and after the learning, 3) to compare cooperative behavior, problem solution thinking and learning achievement after the learning between the students who were taught with the manual of cooperative learning, making use of graphic diagram and constructivism-based learning and those who were taught with the traditional learning manual, 4) to compare cooperative behavior, problem solution thinking and learning achievement between the students having difference in emotional intelligence who were taught with the manual of cooperative learning, making use of graphic diagram and constructivism-based learning, and 5) to examine interaction between both methods of teaching and levels of emotional intelligence which have an effect upon cooperative behavior, problem solution thinking and learning achievement.  The samples were a total of 50 students in 2 classrooms of fourth-graders in the first semester of academic year 2013 at Dong Mon Withayakhom School, Office of Secondary Education Service Area 22, who were selected by purposive sampling as well as simple random sampling and divided into an equal number of 25 students for each classroom.  The fourth-graders in classroom 2 were assigned to an experimental group, while those in classroom 1 to a control group.  The instruments used comprised: 1) a manual of learning based on the constructivist’s theory, cooperative learning and making use of graphic diagram, 2) a traditional learning manual, 3) a test of cooperative 

behavior, 4) a form for observing cooperative behavior, 5) a test of problem solution thinking, 6) a test of learning achievement on the chemical course, 7) a test of emotional intelligence.  Statistics used to analyze data were mean, standard deviation, effectiveness index value, effect size value, t-test for dependent samples and independent samples, one-way ANOVA, one-way MANOVA and two-way MANOVA.

            The findings can be concluded as follows:

               1. The manual of learning based on constructivism, cooperative learning and making use of graphic diagram which has an effect upon cooperative behavior, problem solution thinking and learning achievement on a Chemical course for the tenth graders had effectiveness index values of 0.56, 0.55, and 0.61 respectively and had effect size values of 1.49, 2.98 and 3.52 according to the standard criterion respectively.

                 2. Cooperative behavior, problem solution thinking and learning achievement of the students who were taught using the manual of learning based on the constructivist’s theory, cooperative learning and making use of graphic diagram after the learning were significantly higher than those before the learning at the .05 level.

                 3. Cooperative behavior, problem solution thinking and learning achievement of the students who were taught using the afore-mentioned manual were significantly higher than those gained by the student who were taught using a traditional learning manual.

                 4. Cooperative behavior, problem solution thinking and learning achievement of the students who were different in emotional intelligence (high, medium, and low) after being taught using the afore-mentioned manual were found significantly different at the .05 level.

                 5. Methods of learning and emotional intelligence had no interaction to make any difference in the mean scores of cooperative behavior and learning achievement, whereas both independent variables did have interaction to make a significant difference in the mean scores of problem solution thinking at the .05 level.

Article Details

Section
บทความวิจัย