การบำบัดน้ำเสียฟาร์มสุกรโดยใช้ไข่น้ำเพื่อเป็นอาหารเสริมเลี้ยงสัตว์

Main Article Content

บุญทิวา ชาติชำนิ

Abstract

            งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรโดยใช้ไข่น้ำ และปริมาณชีวมวล ไนโตรเจนรวม โปรตีนของไข่น้ำเพื่อเป็นอาหารเสริมเลี้ยงสัตว์ โดยใช้น้ำเสียจากฟาร์มสุกรที่มีความเข้มข้นแตกต่างกันคือ 20, 40, 60, 80 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ระยะเวลาบำบัดแตกต่างกันคือ 5, 10, 15 และ 20 วัน ชีวมวลไข่น้ำ 20 กรัมน้ำหนักสดต่อตารางเมตร จากผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพการบำบัดบีโอดี และของแข็งแขวนลอยในน้ำเสียจากฟาร์มสุกรที่ความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ ที่ระยะเวลาบำบัด 20 วัน มีประสิทธิภาพการบำบัดสูงสุดเท่ากับ 96.45±0.02 และ 90.30±0.10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ประสิทธิภาพการบำบัดทีเคเอ็นในน้ำเสียจากฟาร์มสุกรที่ความเข้มข้น 20 และ 40 เปอร์เซ็นต์ ที่ระยะเวลาบำบัด 20 วัน มีประสิทธิภาพการบำบัดสูงสุดเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนไข่น้ำที่ใช้บำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรที่ความเข้มข้น 40 เปอร์เซ็นต์ ที่ระยะเวลาบำบัด 15 วัน มีปริมาณชีวมวลเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 104.83±0.02 กรัมน้ำหนักสดต่อตารางเมตร และไข่น้ำที่ใช้บำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรที่มีความเข้มข้น 40 เปอร์เซ็นต์ ที่ระยะเวลาบำบัด 20 วัน มีปริมาณไนโตรเจนรวมและโปรตีนเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 6.00±0.07 และ 37.53±0.53 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณชีวมวล ไนโตรเจนรวม และโปรตีนของไข่น้ำพบว่าน้ำเสียจากฟาร์มสุกรที่ความเข้มข้น 40 เปอร์เซ็นต์ ที่ระยะเวลาบำบัด 15 วัน เหมาะสมในการใช้ไข่น้ำเพื่อผลิตเป็นอาหารเสริมเลี้ยงสัตว์ 

Article Details

Section
บทความวิจัย