วรรณกรรมใบเซียมซีไทยและลาว

Main Article Content

ต่อศักดิ์ เกษมสุข

Abstract

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบวรรณกรรมใบเซียมซีของไทยและลาวโดยมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาศิลปะการใช้ภาษา เนื้อหา ภาพสะท้อนสังคม และลักษณะร่วม ลักษณะต่างที่ปรากฏในวรรณกรรมใบเซียมซีของไทยและลาว ผลการวิจัยพบว่า วรรณกรรมใบเซียมซีไทยและลาวมีการใช้รูปแบบคำประพันธ์ที่ต่างกัน กล่าวคือ วรรณกรรมใบเซียมซีไทยใช้คำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ ส่วนวรรณกรรมใบเซียมซีลาวใช้คำประพันธ์ประเภทกาพย์ลาว วรรณกรรมใบเซียมซีทั้งสองประเทศใช้กลวิธีการนำเสนอในรูปแบบเดียวกันคือ การเกริ่นนำ เนื้อเรื่อง และการกล่าวจบ ด้านเนื้อของวรรณกรรมใบเซียมซีไทยและลาว มีการทำนายอยู่ ๑๐ ด้าน ดังต่อไปนี้ ๑. ด้านความรัก ๒.ด้านโชคลาภ ๓.ด้านคดีความ ๔.ด้านสุขภาพ ๕.ด้านบุตร ๖.ด้านหนี้สิน (ลูกหนี้) ๗.ด้านญาติมิตร – พี่น้อง ๘. ด้านศัตรู ๙. ด้านอาชีพการงาน และ ๑๐.ด้านของสูญหาย โดยเนื้อหาในแต่ละด้านนั้นจะแบ่งเป็น ด้านที่ดี และด้านที่ไม่ดี

ด้านภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏในวรรณกรรมใบเซียมซีไทยและลาว มีการศึกษาวิเคราะห์ ๒ ด้านคือ ด้านความเชื่อ

และ ค่านิยม ซึ่งวรรณกรรมใบเซียมซีไทย ปรากฏความเชื่อ ๖ ด้าน ดังนี้ ๑.ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ๒.ความเชื่อทางโหราศาสตร์ ๓.ความเชื่อด้านไสยศาสตร์ ๔.ความเชื่อเรื่องลักษณะของบุคคล และ ๕. ความเชื่อเรื่องขวัญ  ส่วนวรรณกรรมใบเซียมซีลาวปรากฏความเชื่อ ๑ ด้าน คือความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ในด้านค่านิยมที่ปรากฏในวรรณกรรมใบเซียมซีไทยนั้น มีค่านิยมที่ปรากฏทั้งหมด ๘ ด้าน ดังนี้ ๑. ค่านิยมเรื่องการพึ่งพาตนเอง ๒.ค่านิยมเรื่องความขยันหมั่นเพียร ๓. ค่านิยมเรื่องการประหยัดอดออม ๔. ค่านิยมเรื่องการศึกษาหาความรู้ ๕.ค่านิยมเรื่องการเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโส ๖.ค่านิยมเรื่องการกตัญญู ๗. ค่านิยมเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ ๘.ค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ส่วนค่านิยมที่ปรากฏในวรรณกรรมใบเซียมซีลาวมี ๓ ด้าน ดังนี้ ๑.ค่านิยมเรื่องความขยันหมั่นเพียร ๒.ค่านิยมเรื่องการศึกษาหาความรู้ และ๓.ค่านิยมเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  

ABSTRACT

            This thesis is a comparative study of the seam-si literature in Thailand and Laos. It aims to examine the stylistic features of language, the content, and the reflection of society as well as another similarities and differences in Thai and Laotian Seam-si literature. The results of this study indicate that Thai and Laotian seam-si literature employ different stylistic features of language. While the Thai seam-si literature is written in a form of octameter poem (klonsuphap), the Laotian seam-Si literature is presented in Laotian verse form (khaplao). However, the study shows that the seam-si literature in both countries use the same presentation technique, with the beginning, the prediction, and the ending respectively. In terms of their content, it is found that the prediction mostly focuses on ten main subject matters as follows; (1) love, (2) luck, (3) lawsuits, (4) health, (5) pregnancy, (6) debt (debtor), (7) family circle, (8) enemy, (9) work, and (10) lost property. The content indicates both fortunes and misfortunes.

            In terms of the reflection of society, the analysis focuses on two main areas; the beliefs and the values of people as shown in Thai and Laotian seam-si literature. The Thai seam-si literature reflects the beliefs of Thai people in five main subject matters; (1) the belief in Buddhism, (2) the belief in astrology, (3) the belief in superstition; (4) the belief in people’s personal characteristics, and (5) the belief inguidance spirit (known as khwan in Thai). On the other hand, the Laotian seam-si literature focuses only on one subject matter, which is the belief in Buddhism. Regarding the values of people, the eight values reflected in Thai seam-si literature include (1) being self-reliant, (2) being diligence, (3) being economical, (4) being a passionate learner, (5) being obedient and respectful to elders, (6) being grateful, (7) being generous, and (8) being honest. Compared to its Thai counterpart, the Laotian seam-si literature reflects only three values; (1) being diligence, (2) being a passionate learner, and (3) being generous.

Article Details

Section
บทความวิจัย