รูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชนในการนำ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

พลพักษ์ คนหาญ

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชน ในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1)  ศึกษาสภาพปัจจุบันและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากผู้บริหาร ครู ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน จำนวน 909 คน สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน จากโรงเรียนต้นแบบ 3 แห่ง วิเคราะห์องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อย 2) สร้างรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบประเมินองค์ประกอบของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน และประเมินคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน  3) ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และ ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ  โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน  17 คน 4) นำเสนอรูปแบบ โดยใช้วิธีการ Focus Group จำนวน 25 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ และมีความเชี่ยวชาญ

            ผลการวิจัย พบว่า  

                        1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชน ในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก จากการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร  ครู  ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ปกครอง นักเรียน กรรมการสถานศึกษา โรงเรียนต้นแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชน ในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คณะทำงานยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์ และความต้องการ การกำหนดเป้าหมาย จุดเน้น การติดตามประเมินผล ขาดประสบการณ์ในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้ความสำคัญเกี่ยวกับการระดมทรัพยากรเพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาน้อย      

                 2. ผลการสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้   ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีองค์ประกอบหลักอยู่ 5 องค์ประกอบ มีองค์ประกอบย่อย 20 องค์ประกอบและมีตัวบ่งชี้ จำนวน 69 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สถานการณ์และความต้องการในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มี 4 องค์ประกอบย่อย  14 ตัวบ่งชี้ 2) การมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย จุดเน้นในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 องค์ประกอบย่อย  12  ตัวบ่งชี้  3) การมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากร เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 องค์ประกอบย่อย  18 ตัวบ่งชี้  4) การมีส่วนร่วมปฏิบัติในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบไปด้วยองค์ประกอบย่อย  4 องค์ประกอบ 17 ตัวบ่งชี้  5) การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น มาจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมี 4  องค์ประกอบย่อย 13 ตัวบ่งชี้

                 3. ผลการประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปได้ดังนี้ คือ 1) ด้านหลักการและเหตุผล มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับ มาก 2) ด้านวัตถุประสงค์ มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับ มาก และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับ มากที่สุด 3) ด้านวิธีดำเนินการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ พบว่า องค์ประกอบหลัก  ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด                                               

                 4. ผลการนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้   ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสรุปได้ว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชน ในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้   ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์

 

ABSTRACT

            The research aimed to study a model of participation of the school and the community in applying local wisdom in learning at the primary educational level. Its specific objectives were 1) to study participation in general of the school and the community in applying local wisdom in a learning process at the primary educational level, 2) to construct a model of participation of the school and the community, 3) to evaluate a model of participation of the school and the community and 4) to propose a model of participation of the school and the community in applying local wisdom in a learning process at the primary educational level. The research stages were as follows. In stage one, a study was conducted in order to examine current conditions and recommendations concerning a participation of the school and the community in applying local wisdom in a learning process at the primary educational level. An interview was administered on the school administrators, the teachers of local wisdom, the committee of the basic educational schools, students’ parents and the students from three schools. In stage two a model and its handbook were constructed, a model’s components were evaluated by 15 experts and the model handbook was evaluated by 9 experts. In stage three appropriateness, practicality and benefits of the model in question were evaluated by 17 experts. In stage four, a model in the study was proposed by means of focus group comprising 25 experts.

            The research findings were as follows.                                                                                         

                        1. As for the current conditions and the recommendations on participation of the school and the community, it was found that an application of local wisdom in a learning process at the primary educational level was at a high level.  Based on the interview of the school administrators, the teachers, the students’ parents, the students and the 

committee of the basic education schools, it was found that the working team had no adequate knowledge and understanding regarding the circumstances, wants, objective specifications, emphasis, follow-up and evaluation. Besides, the working team was inexperienced in applying a local wisdom in a learning process. Therefore, less attention was given to resource mobilization for the purpose of learning.

                 2. The model of participation of the school and the community in applying local wisdom in a learning process consisted of 5 primary components, 20 secondary components and 69 indicators as given.  1) Participation in analyzing the circumstances and wants in applying a local wisdom in a learning process at the primary educational level consisted of 4 secondary components and 14 indicators;  2) participation in objective specification, emphasis in applying local wisdom in a learning process consisted of 4 secondary components and 12 indicators; 3) participation in resource mobilization consisted of 4 secondary components and 18 indicators; 4) participation in implementation of local wisdom in a learning process at the primary educational level consisted of 4 components and 17 indictors; 5) participation in follow-up and evaluation of an application of local wisdom in a learning process consisted of 4 secondary components and 13 indicators.

                 3. Concerning the results of the model evaluation, the following were found: 1) on rationale, appropriateness, practicality and benefits were at a high level; 2) on objectives, appropriateness and benefits were at a high level; 3) on methods, all primary components were found to be practical and beneficial at a highest level. 

                 4. As for the proposal of the model of participation in question, it was found that the model of participation of the school and the community in applying local wisdom in a learning process was found to be appropriate, practical and beneficial. 

Article Details

Section
บทความวิจัย