การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ พฤติกรรมความร่วมมือ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยคู่มือการเรียนแบบร่วมมือร่วมกับการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการและการใช้กรอบมโนทัศน์

Main Article Content

โยธกา ปาละนันท์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้คู่มือการเรียนแบบร่วมมือ ร่วมกับการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการและการใช้กรอบมโนทัศน์ ที่มีผลต่อการคิดวิเคราะห์ พฤติกรรมความร่วมมือ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการ และการใช้กรอบมโนทัศน์ 2) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 3) แบบประเมินพฤติกรรมความร่วมมือ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมความร่วมมือ และ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I.) ค่าสถิติทดสอบที (t-test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณร่วมทางเดียว (One-way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way ANCOVA)

            ผลการวิจัยพบว่า

                 1.  ดัชนีประสิทธิผลของคู่มือการเรียนแบบร่วมมือ ร่วมกับการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการและการใช้กรอบมโนทัศน์ ค่าเท่ากับ 0.58 แสดงว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 58

                 2.  การคิดวิเคราะห์ หลังเรียน ของนักเรียน ที่เรียนด้วยคู่มือการเรียนแบบร่วมมือ ร่วมกับการฝึกคิดแบบ
โยนิโสมนสิการและการใช้กรอบมโนทัศน์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 3.  พฤติกรรมความร่วมมือ หลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยคู่มือการเรียนแบบร่วมมือ ร่วมกับการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการและการใช้กรอบมโนทัศน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 4.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ หลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยคู่มือการเรียนแบบร่วมมือ ร่วมกับการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการและการใช้กรอบมโนทัศน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 5.  การคิดวิเคราะห์ พฤติกรรมความร่วมมือ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ความฉลาดทางอารมณ์ต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

            The purposes of this study were to develop and investigate the effects of learning management by a Cooperative Learning Handbook in conjunction with Yonisomanasikan and Concept Mapping toward analytical thinking, cooperative behavior and English learning achievement of Prathom Suksa 5 Students. The sampling group consisted of 25 Prathom Suksa 5 students at Ban Muang School under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 1 collected by Simple Random Sampling. The instruments were composed of: 1) the developed Cooperative Learning Handbook in conjunction with Yonisomanasikan and Concept Mapping 2) an analytical thinking test 3)              a assessment of cooperative behavior 4) an observation form of cooperative behavior 5) a test of learning achievement. The statics used to analyze data were percentage, mean, and standard deviation, Effectiveness Index (E.I.), t-test (Dependent Samples), One-way MANCOVA and One-way ANCOVA

            The results of this study revealed that:

                 1. The Effectiveness Index of the developed Cooperative Learning Handbook in conjunction with Yonisomanasikan and Concept Mapping was 0.58 meaning that the student’ s learning increased 58 percent

                 2. The analytical thinking of the students after learning through Cooperative Learning Handbook in conjunction with Yonisomanasikan and Concept Mapping was higher than before learning at the .05 level of significance

                 3. The cooperative behavior of the students after learning through Cooperative Learning Handbook in conjunction with Yonisomanasikan and Concept Mapping was higher than before learning at the .05 level of significance

                 4. The English learning achievement of the students after learning through Cooperative Learning Handbook in conjunction with Yonisomanasikan and Concept Mapping was higher than before learning at the .05 level of significance.

                      5. The analytical thinking, cooperative behavior and English learning achievement of the students with different emotional quotient level were different at the .05 level.

Article Details

Section
บทความวิจัย