ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช : กรณีศึกษาเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

เดชศักดา ชมพูสี

Abstract

       การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สภาพปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบและวิธีการแก้ไขปัญหาของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช : กรณีศึกษาเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตชและ 3) ประเมินยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช จำนวน 65 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


       1. สภาพปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบและวิธีการแก้ไขปัญหาของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 64.28 อายุส่วนใหญ่ 40 - 49 ปี จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 28.57 ระดับการศึกษาสูงสุดประถมศึกษาลงมาส่วนใหญ่ จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 68.28 ตำแหน่งส่วนใหญ่เกษตรกร จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 46.42 จำนวนสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่ 1-5 คน จำนวน 15 คนคิดเป็นร้อยละ 53.57 และทรัพย์สินของครอบครัวต่อปีเป็นบ้านส่วนใหญ่ จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 รายได้รวมของทุกคนในครอบครัวน้อยกว่า 3,000,000 ส่วนใหญ่ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 46.42 ส่วนพื้นที่เพาะปลูก มี เนื้อที่ทำนาประมาณ 3 เฮกตาร์ เนื้อที่ทำสวนและเนื้อที่ทำไร่ประมาณ 5 เฮกตาร์ สัตว์เลี้ยงในแต่ละครอบครัว มี วัว จำนวน 3-5 ตัวต่อครอบครัว หมู จำนวน 5 ตัวแพะ จำนวน 2 ตัว สัตว์ปีก จำนวน 5 ตัว และระยะเวลาที่ท่านพักอาศัยอยู่ในเมืองท่าแขก 35-60 ปี ในส่วนการประเมินปัญหาของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.94) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ดังนี้ ด้านเศรษฐกิจ ( = 3.98) ด้านสุขภาพของคนในชุมชน


( = 3.97) และด้านสังคม ( = 3.94) และข้อเสนอแนะต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาของชุมที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช : กรณีศึกษาเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรวม จำนวน 28 คนเห็นด้วยร้อยละ 100 ทุกข้อ


       2. การสร้างยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช พบว่ามี 8 โครงการ คือ 1) โครงการดำเนินการประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจให้แก่สาธารณชน 2) โครงการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในหลายรูปแบบ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้การปฏิบัติ การติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3) โครงการใช้มาตรการกำกับ และควบคุมกิจกรรมการทำเหมืองแร่ให้อยู่ภายใต้กฎระเบียบ และวิธีปฏิบัติที่ดีที่หน่วยงานภาครัฐ และ 4) โครงการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อติดตาม ฟื้นฟู และแก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล5) โครงการสร้างกลไกการร้องทุกข์และไกล่เกลี่ยเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งอยู่ในระดับขั้นบ้านและขั้นเมือง 6) โครงการเสริมสร้างสมรรถนะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งด้านบวกและลบเพื่อนำไปสู่การเฝ้าระวังปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 7) โครงการสร้างกลไกในการเฝ้าระวังติดตาม และตรวจสอบโดยระบบภาคี 4 ฝ่าย (ผู้แทนภาคประชาชน ภาครัฐ ผู้ประกอบการและนักวิชาการ) และ 8) โครงการนำใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการบำบัดและฟื้นฟูพื้นที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช


       3. ผลการประเมินยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช : กรณีศึกษาเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่พัฒนาขึ้นพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก


( = 4.03)

Article Details

Section
บทความวิจัย