Cancer in Pregnancy: 10- year Experience in Srinagarind Hospital

Main Article Content

Kosin Wirasorn
Jarin Chindaprasirt
Aumkhae Sookprasert
Chompilas Chongsomchai

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์ : ถึงแม้ว่ามะเร็งในระหว่างการตั้งครรภ์พบไม่บ่อย แต่มีอุบัติการณ์ความพิการและเสียชีวิตต่อผู้ป่วยและทารกสูง ประกอบกับข้อมูลแนวทางการรักษาในภาวะดังกล่าวค่อนข้างจำกัด ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด รังสีรักษาและเคมีบำบัด นอกจากนั้นการรักษาอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบาดวิทยาและผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในระหว่างการตั้งครรภ์

วิธีการศึกษา : ทบทวนจากแฟ้มประวัติการเจ็บป่วยและการรักษารวมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งในระหว่างการตั้งครรภ์ที่ถูกวินิจฉัยตั้งแต่ 1 มกราคม 2544- 31 ธันวาคม 2553

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยมีทั้งหมด 19 รายเข้าร่วมการศึกษา (0.64:1,000 ของการคลอด) จากจำนวนการคลอดทั้งหมด 26,446 ครั้ง ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 34.4 ปี อายุครรภ์เฉลี่ยขณะวินิจฉัยโรค 24.6 สัปดาห์และอายุครรภ์เฉลี่ยที่คลอด 32.4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่คลอดโดยผ่าตัดคลอด น้ำหนักทารกแรกคลอดเฉลี่ย 1,895.7 กรัม ผู้ป่วยส่วนมากได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน การรักษามะเร็งในระหว่างการตั้งครรภ์โดยการผ่าตัดร้อยละ 22.2 และเคมีบำบัดร้อยละ 22.2 การคลอดก่อนกำหนดและภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย (ร้อยละ 76.4 และ 23.5 ตามลำดับ) ทารกส่วนใหญ่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ 70.5) พบทารก 1 รายที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็น Down syndrome ในมารดาที่เป็นมะเร็งเต้านมอายุ 43 ปี

สรุป : ถึงแม้ว่าภาวะมะเร็งในระหว่างการตั้งครรภ์พบได้ไม่บ่อย แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลเพราะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและทารกอย่างมากรวมทั้งยังขาดแนวทางการรักษาที่ชัดเจน

คำสำคัญ : มะเร็ง, ภาวะตั้งครรภ์, ผลทางสูติศาสตร์, ผลทารกแรกคลอด

 

 

Background and objective : Although prevalence of cancer during pregnancy is rare, it leads to high morbidity and mortality in both mother and fetus. Treatment is a challenge because options are limited; cytotoxic agents, radiation, and surgery possibly lead to several maternal and fetal complications.  There is no epidemiological data of cancer during pregnancy in Thailand. This study aim to describe characteristics and treatment outcomes of cancer diagnosed during pregnancy.

Method : Retrospective case series was reviewed, which included pregnancy women diagnosed with cancer in Srinagarind Hospital from 1st January 2001 to 31st December 2010.

Results : Nineteen pregnant women were diagnosed cancer during the observed period (0.64:1,000 deliveries); with mean age of 34.4 years, mean gestational age at diagnosed of 24.6 weeks and mean gestational age at delivery of 32.4 weeks. Cesarean section was the most common mode of delivery. Mean birth weight of baby was 1,895.7 grams. Cervical cancer and acute myeloblastic leukemia were the two most common types of cancer during pregnancy. Surgical treatment was performed in 22.2% of patients and 22.2% were treated by chemotherapy. Preterm delivery and neonatal asphyxia were the two most frequent obstetric complications. 70.5% of babies had low birth weight. One child with Down syndrome was born from maternal breast cancer.

Conclusion : Although cancer during pregnancy is uncommon, it is considered as an important problem due to unfavorable maternal and fetal outcomes, and lack of standard management guideline.

Key words : Cancer, Pregnancy, Obstetric outcomes, Neonatal outcomes

Article Details

How to Cite
1.
Wirasorn K, Chindaprasirt J, Sookprasert A, Chongsomchai C. Cancer in Pregnancy: 10- year Experience in Srinagarind Hospital. SRIMEDJ [Internet]. 2013 Aug. 22 [cited 2024 Mar. 29];27(2):112-7. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/11093
Section
Original Articles