Factors Related to Anemia among Pregnant Women in Khaopanom District, Krabi Province

Authors

  • Chabaprai Sukkai Department of Biostatistics and Demography, Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • Jiraporn Khiewyoo Department of Biostatistics and Demography, Faculty of Public Health, Khon Kaen University

Keywords:

ภาวะโลหิตจาง, หญิงตั้งครรภ์, Anemia, Pregnant women

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์ : ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์มีผลกระทบต่อสุขภาพของทั้งมารดาและทารก พบได้บ่อย จึงควรได้รับการแก้ไข การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจางใน  หญิงตั้งครรภ์ อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่

วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ โดยไม่จำกัดอายุครรภ์ จำนวน 368 ราย เกณฑ์ที่ถือว่ามีภาวะโลหิตจาง คือ  ค่าฮีโมโกลบินต่ำกว่า 11 กรัม/ดล.  เก็บข้อมูลหญิงตั้งครรภ์โดยสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม และคัดลอกจากแบบบันทึกผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์หาปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วย  สถิติถดถอยพหุโลจิสติก

ผลการศึกษา : ความชุกของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์กลุ่มนี้เท่ากับ ร้อยละ 26.1 (95%CI= 21.6–30.6)   ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจาง ได้แก่ การมีประวัติเป็นโรคโลหิตจาง (ORadj = 3.66, 95% CI = 1.54 – 8.70)  การฝากครรภ์ครั้งแรกที่อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ขึ้นไป (ORadj= 2.16, 95% CI = 1.39 – 3.37) และ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์มากกว่าสามครั้งขึ้นไป (ORadj= 2.33, 95 CI = 1.12 – 4.83)

สรุป : หญิงตั้งครรภ์กลุ่มนี้มีความชุกของภาวะโลหิตจางสูง ควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม และการกระตุ้นให้ฝากครรภ์ทันทีที่ตั้งครรภ์ การให้โภชนศึกษาและสุขศึกษาก็เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์

คำสำคัญ : ภาวะโลหิตจาง, หญิงตั้งครรภ์

 

 

Background and Objective : Anemia in pregnant women is common. It has health effect on both mothers and infants. The problem should be prevented. This study aimed to investigate factors related to anemia among pregnant women in Khaopanom district, Krabi province.

Methods : A cross-sectional analytical study was conducted  in 368 pregnant women, with any gestational age, who  had  their first  antenatal  care  at  Khaopanom district  hospital, Krabi province. Hemoglobin   level of  less  than 11 g/dl was identified as anemia. Data were collected by face-to-face interview  with structured questionnaire and compiled from laboratory record. Multiple logistic regression analysis was employed for investigating related factors.

Results : The prevalence of anemia was 26.1% (95%CI = 21.6–30.6). The related factors of anemia were having history of anemia (ORadj = 3.66, 95% CI = 1.54 – 8.70), gestational age at the first antenatal care equal or greater than 14 weeks (ORadj = 2.16, 95% CI=1.39–3.37), and having previous pregnancy more than 3 times (ORadj = 2.33, 95 CI = 1.12–4.83)

Conclusions : The prevalence of anemia among the sample was  quite high. The  pregnant  women  should be counseled about a genetic  counseling and encouraged to have early antenatal care.  The nutritional and health education should be also continuously given to them before the pregnancy.

Keywords : Anemia, Pregnant women

Downloads

How to Cite

1.
Sukkai C, Khiewyoo J. Factors Related to Anemia among Pregnant Women in Khaopanom District, Krabi Province. SRIMEDJ [Internet]. 2013 Aug. 22 [cited 2024 Apr. 19];27(2):133-8. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/11098

Issue

Section

Original Articles