ผ่าตัดสมองผ่านจมูก: Role of Endoscopic Endonasal Skull base Surgery

Authors

  • พรเทพ เกษมศิริ

Abstract

ฐานกะโหลกศีรษะเป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยเส้นเลือดและเส้นประสาทซึ่งการผ่าตัดบริเวณนี้จึงจำเป็นต้องเข้าใจกายวิภาคเป็นอย่างดีเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ การผ่าตัดบริเวณนี้สามารถผ่าตัดด้วยวิธี External approach, Microscopic approach และ Endoscopic endonasal approach (EEA) การผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางจมูก (EEA) ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงหลายสิบปีนี้ เนื่องจากว่าเป็นวิธี Minimal invasive technique มีข้อดี คือ หลีกเลี่ยงแผลเป็นที่สังเกตจากภายนอก เลี่ยงการผ่าตัดกระดูกใบหน้า และที่สำคัญลด Brain retraction ขณะทำการผ่าตัด  การผ่าตัดด้วยวิธี EEA นี้จำเป็นต้องสร้างช่องทางเข้าไปผ่าตัดที่ฐานกะโหลกศีรษะ โดยทำการผ่าตัดไซนัสและตัดบริเวณด้านหลังของผนังกั้นจมูก ซึ่งจะทำให้สามารถผ่าตัดผ่านรูจมูกสองข้างด้วยวิธี Two-Surgeon-Four-Hand Technique การผ่าตัดสร้างช่องทางนี้จะทำให้มุมมองการผ่าตัดกว้างขึ้น และทำให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับทำการผ่าตัด นอกจากนั้นกล้องที่ใช้ทำการผ่าตัดเป็นกล้องเอนโดสโคปนสามารถให้กำลังขยายและมีมุมองศาที่ทำให้มองเห็นชัดขึ้นเป็น Panoramic view ซึ่งช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดโดนเส้นเลือด เส้นประสาท และยังช่วยเพิ่มศักยภาพในผ่าตัดทำให้ลดอัตราการผ่าตัดเหลือ Residual tumor ลดอุบัติการณ์การเกิดน้ำไขสันหลังรั่ว (CSF leakage)

Downloads

How to Cite

1.
เกษมศิริ พ. ผ่าตัดสมองผ่านจมูก: Role of Endoscopic Endonasal Skull base Surgery. SRIMEDJ [Internet]. 2015 Oct. 5 [cited 2024 Apr. 19];30(5):36-41. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/39929

Issue

Section

บทความ