ผลการใช้เครือข่ายสังคมการเรียนรู้สกูลูจี (Schoology) บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน: กรณีศึกษา รายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการปฏิบัติงาน ของนักศึกษาเทคนิคเภสัชกรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศิริ วัฒนธีรางกูร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • อมร วัฒนธีรางกูร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุพัฒน์ จำปาหวาย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

เครือข่ายสังคมการเรียนรู้, ห้องเรียนออนไลน์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความคิดเห็น

บทคัดย่อ

           ลักษณะเด่นของผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21 คือคุ้นเคยและโตมากับเทคโนโลยี  ผู้สอนจึงต้องบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับการจัดการเรียนการสอนการวิจัยนี้มีจุดประสงค์  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนเมื่อใช้เครือข่ายสังคมการเรียนรู้ Schoology ร่วมกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการใช้เครือข่ายสังคมการเรียนรู้ Schoology กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรเทคนิคเภสัชกรรม ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียน รายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้เครือข่ายสังคมการเรียนรู้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติที (Paired t-test)

           ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนเรียน ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 18.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.58 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียน ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 28.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.90 ผลการทดสอบสมมติฐาน ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ .0001 และด้านความคิดเห็นของนักศึกษาต่อใช้เครือข่ายสังคมการเรียนรู้Schoologyร่วมกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.58ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.54 โดยสรุป การจัดการเรียนการสอนผ่านเครื่อข่ายสังคมการเรียนรู้Schoologyช่วยกระตุ้นความสนใจและความพึงพอใจให้กับนักศึกษาจึงช่วยส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา

References

1. วิจารณ์ พานิช.วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ :บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่ จำกัด;2555.

2. วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรืองและอธิป จิตตฤกษ์. ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม2558; 9 (4):221-227.

3.ธนพล บรรดาศักดิ์และคณะ.การเป็นผู้เรียนในยุคศตวรรษที่21 : มุมมองจากอาจรย์และนักศึกษา พยาบาล.[ออนไลน์] 2559 [อ้างเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2560] จาก http://www.ojs.mcu.ac.th/index.php/peace/article/view/235/193

4. JW.NugrohoJoshua. The Effectiveness of E-Learning Implementation using SocialLearning Network Schoology on Motivation & Learning Achievement in STMIK Primakara Bali.2015 [cited17Feb2017]. Available from: https://www.researchgate.net.
5. เบญจวรรณ ถนอมชยธวัชและคณะ.ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3 (2):208-222.

6. Burgstrom, Laura. The Impact of Student Completion Requirements Using an LMS (Learning Management System) on Student Achievement and Differentiated Instruction in The Classroom.Education and Human Development Master's Theses. 721; 2017.

7. David Ginola and Dameria Magdalena S. The Implementation of Flipped Classroom by Using Schoology in Speaking II Class of English Education Study Program of Teacher Training and Education on Faculty of Bandar Lampung University . The Fourth International Conference on Education and Language (4th ICEL) 2016 Universitas Bandar Lampung (UBL), Indonesia; 2016.

8. ประพรรธน์ พละชีวะและจุลลดา จุลเสวก. การเสริมสร้างทักษะเมตาคอกนิชัน ด้วยเทคนิคการสะท้อนคิดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2558; 9 (3):98-108.

9. พิศมัย หาญมงคลพิพัฒน์. ผลการใช้เว็บไซต์ Edmodoในการจัดการเรียนการสอน.การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ศตวรรษที่2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน 17 มิถุนายน 2559 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา;2559.

10.ธนะรัตน์ ธนากิจเจริญสุข. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา.วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. 2559; 17 (1):16-23.

11. ภิรมย์ พาบุ.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการใช้เว็บเครือข่ายทางสังคมเพื่อการเรียนการสอน.วารสารวิทยาศาตร์ประยุกต์. 2558;14.(2): 85-94.

12. เทพยพงษ์ เศษคึมบง. ผลการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความสามารถทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี.สาขาครุศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์.Verdian E-Journal,SU 2556; 5(2):68-82.

13. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี. การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ผ่านสื่อออนไลน์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.2556[อ้างเมื่อ 7กุมภาพันธ์ 2560] จากhttp://www.bmamedia.in.th/researchdownload/cai/Fulltext.pdf

14. ณัฐกฤตา ศิริโสภณ และสาโรจน์ โศภีรักข์. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บตามแนวคิดการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.2556; 24(3): 96-120.
15. วรวุฒิ มั่นสุขผล. การพัฒนารูปแบบฝึกอบรมออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบร่วมกัน เพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบอีเลิร์นนิง เพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา.วารสาร VeridianE-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ.2557; 7(3): 784-799.

16.Alvin S.Sicat. Enhancing College Students’ Proficiency in Business Writing Via Schoology. International Journal of Education and Research 2015; 3 (1):159-178.

17.Vania Wibowo. Students' Perception of Using Schoology in an Argumentative Writing Class 2016.[Cited 2017 Feb 17]. Available from:http://repository.uksw.edu/bitstream

18. Adem Nalu V. Rubio. Attitude of Catanduanes State University (CSU) Students Towards Online-Integrated Teaching in Literature Using Schoology. CDRJ; l 4 (1):10-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-10-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)