พฤติกรรมการเลือกใช้เครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ศิริ อุยวัฒนกุล วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • เจตนิพิฐ สมมาตย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเลือกใช้เครื่องสำอาง, เครื่องสำอาง, นักศึกษา, ปัจจัยทางการตลาด

บทคัดย่อ

           ปัจจุบันวัยรุ่นไทยนิยมใช้เครื่องสำอางสำหรับผิวหน้ามากขึ้นด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้เครื่องสำอางสำหรับผิวหน้า (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้เครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 389 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Multiple logistic regression นำเสนอค่า Adjusted OR พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95%

            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.66 อายุเฉลี่ย 21 ปี ซื้อเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือน แหล่งที่นิยมซื้อมากที่สุดคือ ร้านสะดวกซื้อ เหตุผลในการใช้ได้แก่ เพื่อความงามและเสริมบุคลิกภาพ (ร้อยละ 73.78) เมื่อพิจารณาความเหมาะสมของพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเหมาะสม (ร้อยละ 97.69) ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าพบว่า หลักสูตรที่ศึกษาและปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้เครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)

References

1. รุ่งนภา กงวงษ์, วิบูลย์ วัฒนนามกุล. การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางอันตรายของวัยรุ่นหญิง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารเภสัชศาสตร์ 2554 ม.ค. – เม.ย.; 7(1):76-87.

2. ณัฐชา ประวาลปัทม์. พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของนักศึกษาปริญญาตรีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จุลนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2555.

3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. เอกสารสรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดสาธารณสุขที่สำคัญ จังหวัดขอนแก่น 2557. จังหวัดขอนแก่น; 2557.
4. Hosmer DW, Lemeshow S. Applied logistic regression. 2nd ed. New York: John Wiley&Sons; 2000.

5. เกวลี ปะตุละ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสำอางของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [รายงานการวิจัย]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.

6. ศุภาสินี โชคงาม, สุมนา ธีรกิตติกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศเกาหลีในกรุงเทพมหานคร. ใน: รสชงพร โกมลเสวิน, บรรณาธิการ. บทความนำเสนอในการประชุมระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ครั้งที่ 1; 29 กรกฎาคม 2554; มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2554. หน้า 291-300.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-10-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)