สถานการณ์นโยบายไม่กินหวานในโรงเรียน ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล

บทคัดย่อ

           น้ำอัดลม น้ำหวาน และขนมกรุบกรอบ เป็นที่รู้กันว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคฟันผุและโรคอ้วน ในปี พ.ศ. 2558 ผลการสำรวจในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า มีเพียงร้อยละ 29.5 ของโรงเรียนเท่านั้นที่มีนโยบายห้ามขายสินค้าเหล่านี้ให้กับนักเรียน การศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-section study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามสถานการณ์ในปี 2559 หลังจากดำเนินโครงการไปแล้ว 1 ปี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียน 82 แห่ง ในอำเภอลำปลายมาศแบ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษา 76 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษา 6 แห่ง เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 -31 กรกฎาคม 2559 จากผลการศึกษาพบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่มีโรงอาหาร และมีการเตรียมปรุงอาหารเอง สูงถึงร้อยละ 96.3 โรงอาหารได้มาตรฐานกรมอนามัย เพียงร้อยละ 57.3  น้ำดื่มในโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นน้ำฝนคิดเป็นร้อยละ 30.5 และ น้ำประปา คิดเป็นร้อยละ 26.8 ส่วนมากผ่านเครื่องกรอง คิดเป็นร้อยละ 85.4  เมื่อมองไปที่นโยบายไม่กินหวานพบว่า โรงเรียนที่ดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม ควบคุมน้ำหวาน และขนมกรุบกรอบโดยดำเนินการแล้วทั้ง 3 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 50.0 ดำเนินการบางเรื่อง คิดเป็นร้อยละ 31.7 และที่ยังไม่ได้ดำเนินการเลย คิดเป็นร้อยละ 18.3  ดำเนินการแต่ละเรื่อง พบว่าโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม คิดเป็นร้อยละ 85.4 ปลอดลูกอม คิดเป็นร้อยละ 80.5 ปลอดขนมกรุบกรอบ คิดเป็นร้อยละ 54.9  และ ปลอดน้ำหวาน คิดเป็นร้อยละ 51.2  สรุปและ ข้อเสนอแนะ จากการประเมินนโยบายพบว่า มีการขับเคลื่อน นโยบายไม่กินหวานในโรงเรียนเพิ่มขึ้นซึ่งต้องดำเนินการให้เข้มแข็ง ข้อเสนอแนะควรมีการติดตามประเมินผลกระทบเกี่ยวกับสุขภาพได้แก่ โรคอ้วนและ โรคฟันผุต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)
Author Biography

เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล, โรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

Senior Professional Dentist, Lum Plaimat hospital, Buri Ram Province

References

1. Acs G, Lodolini G, Kaminski S, Cisneros Gj. Effect of nursing caries on body weight in a pediatric population. Pediatric Dentistry 1992;14:302-5.

2. Caglaroglu M, Kilic N, Erdem A. Effects of early unilateral first molar extraction on skeletal asymmetry. Am J OrthodDentofacialOrthop 2008;134:270-5.

3. Melsen B, Terp S. The influence of extractions caries cause on the development of malocclusion and need for orthodontic treatment. Swed Dent J Suppl 1982;15:163-9.

4. Richardson A. Spontaneous changes in the incisor relationship following extraction of lower first permanent molars. Br J Orthod 1979;6:85-90.

5. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2556.

6. สุนทร ระพิสุวรรณ, ภฑิตา ภูริเดช, ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล,เทวฤทธิ์ สมโคตร,พลินี เดชสมบูรณ์รัตน์. ความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตและความชุกของโรคฟันผุของเด็กในชุมชนแออัด.วารสารประชากรศาสตร์ 2545; 18(2):27-36.

7. Millward A, Shaw L, Smith AJ, Rippin JW, Harrington E. The distribution and severity of tooth wear and the relationship between erosion and dietary constituents in a group of children. Int J Paediatr Dent. 1944, 4:151-157.

8. National Statistical Office. The 2009 survey on health and welfare. Bangkok: National Statistical Office, Ministry of Information and Communication Technology; 2010. (in Thai).

9. เพ็ญแข ลาภยิ่ง. การสร้างเสริมสุขภาพ: แนวคิด หลักการ และยุทธศาสตร์. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ/ สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย, 2552. Cyber Rock Agency Group Co.,Ltd.

10. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพช่องปากประเทศไทย พ.ศ. 2555-2559. โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2556.

11. กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลลำปลายมาศ. รายงานสถานการณ์โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม ควบคุมน้ำหวาน และขนมกรุบกรอบ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2558.

12. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพ สำหรับการควบคุมกำกับติดตามและการประเมินผลการดำเนินงาน ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปีงบประมาณ 2559.

13. เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสุขภาพจิตชุมชนแห่งประเทศไทย.2558; 2(2): 32-42.

14. เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล. การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยอ่อนหวานเด็กไทยฟันดี อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2559; 10(23): 20-35.

15. เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล. การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมสู่ตำบลดื่มน้ำเปล่า ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2553-2558. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. 2560; 39(1): 13-24.

16. World Health Organization. Ottawa Charter for Health Promotion.In:An International Conference on Health Promotion. The move toward a new public health ; Ottawa , Canada : WHO , 1986.

17. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. ข้อเสนอเชิงนโยบายและกลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยกลุ่มอายุต่างๆในทศวรรษหน้า. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด. 2549.

18. ผุสดี จันทร์บาง,ปิยะดา ประเสริฐสม,ปราณี เหลืองวรา. โครงการพหุภาคีเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการบริโภคอ่อนหวานเด็กนัดเรียน. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2555; 17(2): 31-44.

19. สุขจิตตรา วนาภิรักษ์. การพัฒนานโยบายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม ลูกอม ขนมกรุบกรอบ ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดแพร่. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2551; 13(2): 20-32.

20. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประเทศไทย พ.ศ. 2549-2550. โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การทหารผ่านศึก. 2551.