ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • นัฐวุฒิ โนนเภา โรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
  • พัทธพล นามศรี โรงพยาบาลปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
  • อนุพงษ์ สอดสี วิทยาลัยการสาธารณสุข จังหวัดสุพรรณบุรี
  • วสันต์ ปิ่นวิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุข จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปาก, ปัจจัย, นักเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปาก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 352 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบ่งเป็น 6 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากของนักเรียนทัศนคติต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก การรับรู้ความสามารถของตนเองในพฤติกรรมทันตสุขภาพ ตัวแบบด้านทันตสุขภาพจากผู้ปกครอง และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

              ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมที่นักเรียนส่วนใหญ่ปฏิบัติเป็นประจำ ได้แก่ นักเรียนทำความสะอาดฟันด้วยวิธีการแปรงฟันทุกวัน นักเรียนแปรงฟันหลังตื่นนอนตอนเช้า นักเรียนใช้แปรงสีฟันที่มีขนาดพอเหมาะกับปาก นักเรียนจะเปลี่ยนแปรงสีฟันใหม่เมื่อขนแปรงบาน ร้อยละ 77.84, 78.41, 76.42 และ 60.80 ตามลำดับ 2) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองในพฤติกรรมดูแลทันตสุขภาพ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ตัวแบบด้านทันตสุขภาพจากผู้ปกครอง อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ 0.01  ดังนั้นการที่จะพัฒนาพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากของนักเรียน ควรส่งเสริมทันตสุขภาพทั้งตัวนักเรียน กลุ่มเพื่อน และผู้ปกครอง

Author Biographies

นัฐวุฒิ โนนเภา, โรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

Public Health Technical officer, Kabinburi Hospital PrachinburiProvince

พัทธพล นามศรี, โรงพยาบาลปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Public Health Technical officer, Pakkret Hospital Nonthaburi Province

อนุพงษ์ สอดสี, วิทยาลัยการสาธารณสุข จังหวัดสุพรรณบุรี

Lecturer, Sirindhorn College of Public Health Suphanburi

วสันต์ ปิ่นวิเศษ, วิทยาลัยการสาธารณสุข จังหวัดสุพรรณบุรี

Professional Lecturer, Sirindhorn College of Public Health Suphanburi

References

1. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 ประเทศไทยพ.ศ. 2550-2555. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555.

2. Pender, N.J., Murdaugh, C.L. & Parsons, M.A. Health Promotion in Nursing Practice. 5th (ed). New Jersey: Pearson Education, Inc;2006.

3. วรเมธ สุขพาสันติ, มานพ คณะโต และพูนรัตน์ ลียติกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดหนองบัวลำภู. ศรีนครินทร์เวชสาร2559; 31(2):169-177.

4. นิตยา เจริญกุล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของผู้ใช้บริการทันตกรรม : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ. [วิทยานิพนธ์]กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2556.

5. Schwartz, N. E. Nutritional knowledge, attitude and practice of high school graduated. Journal of The American Dietetic Association1975; 66: 28-31.

6. ธัญนิดา เจริญจันทร์และทิพย์วัลย์ สุรินยา.ความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเองรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสตรีนนทบุรีจังหวัดนนทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2557; 40(1): 69-84.

7. Bandura, A. Self efficacy: Toward a unifying theory of behavior change. Psychological Review 1977;84:191-215.

8. ปิติฤกษ์ อรอินทร์. การศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ [วิทยานิพนธ์]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2557.

9. สดุดี ภูห้องไสย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)