ประสิทธิผลของการส่งเสริมความรู้ด้านทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 5 ในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา

Main Article Content

ปณัฐฐา สุธรรมประจักษ์
อัฎฮียะห์ มูดอ
ชมพูนุช สุภาพวานิช

บทคัดย่อ

               นักเรียนวัยประถมศึกษาเป็นกลุ่มที่มีปัญหาฟันผุสูง ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากการมีพฤติกรรมการบริโภคและการดูแลความสะอาดช่องปากที่ไม่ดี  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับความรู้และพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ และเปรียบเทียบคะแนนความรู้ การเปลี่ยนแปลงปริมาณคราบจุลินทรีย์และพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพก่อน – หลังเข้าร่วมโครงการส่งเสริมความรู้ด้านทันตสุขภาพ และติดตามผลเป็นระยะเวลา 1 ปี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 5 ของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 45 คนเข้าร่วมการศึกษา มีการให้ความรู้  ตอบแบบสอบถามและตรวจปริมาณคราบจุลินทรีย์ โดยใช้แบบบันทึก Plaque Index วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired Samples T – Test


              ผลการศึกษาเปรียบเทียบก่อนและหลังการให้ความรู้พบว่า นักเรียนมีคะแนนความรู้หลังจากเข้าร่วมโครงการส่งเสริมความรู้ด้านทันตสุขภาพ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อติดตามเป็นระยะเวลา 1 ปี (p < 0.001)  ในขณะที่ผ่านไป 1 ปี นักเรียนมีพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพโดยเฉพาะด้านการบริโภคอาหารหวานและการแปรงฟันหลังอาหารลดลง (p = 0.04) รวมทั้งมีปริมาณคราบจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น (p <0.001) เมื่อติดตามหลังจากโครงการ 1 สัปดาห์


              ความรู้ทางทันตสุขภาพที่เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางทันตสุขภาพได้ ดังนั้นควรจะมีการเพิ่มสิ่งจูงใจให้นักเรียนปฏิบัติ, สร้างเจตคติที่ดีต่อการดูแลอนามัยช่องปาก, เพิ่มการรับรู้ภาวะคุกคามของโรค และเน้นการปฏิบัติตัวให้มากขึ้น รวมถึงเพิ่มการมีส่วนร่วมของคุณครูและผู้ปกครองในการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนเพื่อลดปัญหาฟันผุในวัยเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)
Author Biographies

ปณัฐฐา สุธรรมประจักษ์, โรงพยาบาลปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา

นักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข)

อัฎฮียะห์ มูดอ, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ

ชมพูนุช สุภาพวานิช, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

References

1.องค์การอนามัยโลก. WHO releases new report on global problem of oraldiseases.[ออนไลน์] 2547 [อ้างเมื่อ 13 ธ.ค. 2558]จาก https://www.who.int/mediacentre/news/releases/2004/pr15/en/

2.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2556.

3. สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยะลา. รายงานสภาวะสุขภาพช่องปากทุกกลุ่มวัยปี พ.ศ. 2558.

4.สิยาภา พนังแก้ว วัชรสินธุ์, เยาวภา ติอัชสุวรรณ และสุรเดช ประดิษฐบาทุกา.ปัจจัยระดับบุคคลที่มีความ
สัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี.ในการจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 4;2557:1–17.

5.นันทนา ศรีอุดมพร. โรคฟันผุ (Dental Caries). ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 3 การดูแลเด็กสุขภาพดี.กรุงเทพฯ:บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด;2556:234-237.

6.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. พบเด็กไทยฟันผุลดลง สปสช.ชี้ผลสำเร็จ กองทุนทันตกรรมช่วยประหยัดค่ารักษากว่า 300 ล้านบาท. [ออนไลน์] 2556 [อ้างเมื่อ 13 ธ.ค. 2558] จาก https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=NjUw

7. ภาควิชาทันตกรรมชุมชนคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. โครงการทันตกรรมโรงเรียน. [ออนไลน์] ม.ป.ป. [อ้างเมื่อ 7 ก.พ. 2559] จาก https://home.kku.ac.th/somnam/QA2013/5.1/5.1.2.2.pdf

8. สุนันทา ศรีศิริ. โครงการสุขภาพในโรงเรียน. เอกสารประกอบการสอนวิชา สข401 โครงการสุขภาพในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2547.

9. กันยารัตน์ สมบัติธีระ และยุพา ถาวรพิทักษ์. อัตราการตอบกลับแบบสอบถามและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราการตอบกลับแบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ในงานวิจัยด้านพยาบาลศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์. วารสารวิจัย มข. (บศ.) (KKU Res J (GS)) 2558;15(1):105.

10. สิริลักษณ์ รสภิรมย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2556.

11.จักรกฤษณ์พลราชม,สุปรียา ตันสกุล, ธราดล เก่งการพานิช และตุ๋ย ยังน้อย. กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกตจากตัวแบบเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพในนักเรียนชั้นประถมศึกษาอำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร. วารสารสุขศึกษา (Journal of Health Education) 2550;30(106):1.

12. ชิงชัย บัวทอง, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์ และอัจริยา วัชราวิวัฒน์.ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบางเหียน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น2558;3(2):293.

13. ณัฐวุธ แก้วสุทธา, อังศินันท์อินทรกำแหง, พัชรี ดวงจันทร์. ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น.วารสารพฤติกรรมศาสตร์ (Journal ofBehavioral Science)2556;19(2):153.