แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพงานทันตสาธารณสุข

Main Article Content

สมตระกูล ราศิริ
ธิติรัตน์ ราศิริ
ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์

บทคัดย่อ

         บทความวิชาการฉบับนี้ มุ่งเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพงานทันตสาธารณสุข และสถานการณ์การส่งเสริมสุขภาพงานทันตกรรมที่ยังคงเป็นปัญหากับสังคมไทย ซึ่งการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพงานทันตสาธารณสุข เป็นปัจจัยสำคัญตอบสนองความต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพช่องปากที่ดีเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนโดยเฉพาะประชาชนในชุมชนเองต้องเข้ามามีส่วนร่วมกันอย่างจริงจังและให้ความสำคัญต่อสุขภาพช่องปาก


แนวทางการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพงานทันตสาธารณสุข ประกอบด้วย 1) การสอนและการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างประชาชนในชุมชนและเจ้าหน้าที่โดยยึดหลักกลยุทธ์การดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพงานทันตสาธารณสุขตามหลักของกฎบัตรออตาวา(Ottawa Charter) 2) กระบวนการหาความต้องการของชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมงานทันตสาธารณสุข ประกอบด้วย  5 ขั้นตอน ได้แก่การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา การมีส่วนร่วมในการวางแผน การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล 3) การจัดโครงการ/กิจกรรมทันตสาธารณสุขโดยเกิดจากความต้องการของชุมชนเองและชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่ ถ้าเกินขีดความสามารถของชุมชน 4) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 5) การประเมินสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับช่องปาก ได้แก่ การประเมินสุขภาพช่องปาก/ความสนใจหรือ จำนวนการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เป็นต้น และ 6) การขยายแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพงานทันตสาธารณสุข ไปยังชุมชนอื่นโดยเกิดจากความต้องการของชุมชนนั้นๆ

Article Details

บท
บทความปริทัศน์ (Review article)
Author Biographies

สมตระกูล ราศิริ, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ

ธิติรัตน์ ราศิริ, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

วิทยาจารย์ชำนาญการ

ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ

References

1.สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์. ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูลกระทรวง สาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ฉบับปรับปรุง วันที่ 30 กันยายน 2557. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข;2557.

2.Donev,D., Pavlekovic, G., Kragelj,L.Z. Health Promotion and Disease Prevention. Germany:Hans Jacobs Publishing Company;2007.

3.กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย.รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประเทศไทย พ.ศ. 2549-2550. โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การทหารผ่านศึกษา;2551

4.Resine ST, Fertig J, Weber J, Leder S. Impact of dental conditions on patients’ quality of life. Community Dent Oral Epidermal 1989;17:7-10.

5.เพ็ญแข ลาภยิ่ง. การเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก. เศรษศาสตร์บริการสุขภาพช่องปาก. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข.โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2554.

6.เพ็ญแข ลาภยิ่งและเสกสรร พวกอินแสง. ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์สุขภาพช่องปากแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 สำนักทันตสาธารณสุข 2555.

7.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานบุคลากรด้านทันตสาธารณสุข ประจำปี 2555 เอกสารอัดสำเนา;2555.

8.เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ, ปนัดดา ปริยฑฤฆ และญาณิศา โชติกะคาม. กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตําบลมาบแค.วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2555;28(1):8-17.

9.ประไพพิศ สิงหเสม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, มาริสา สุวรรณราชและเนติยา แจ่มทิม.(2559).การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3(3):15–45.

10.International Association for Public Participation.IPA2 Spectrum of Public Participation.2007 [cited 2016 Nov 22]. Available from: www.iap2.org/associations/4748/files/spectrum.pdf.

11.World Health Organization. Four definitions of health promotion and education. 1986. [cited 2016 Nov 10]. Available from: https://www.csupomona.edu/jvgrizzell/best_Practices/ definehp.htm

12.World Health Organization. Ottawa Charter for Health Promotion. First International Conference on Health Promotion,Ottawa,21 November 1986. [cited 2016 Nov 7]. Available from: https://www.who.int/hpr/NPH/docs/ottawa_charter_hp.pdf.