การพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลในการสนับสนุนและส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันและจัดการภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด

ผู้แต่ง

  • อนุชา ไทยวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • วิรัตน์ดา สาระโภค โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • วัชราภรณ์ ศรีโสภา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • นงลักษณ์ สมภักดี โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการพยาบาล, หลักฐานเชิงประจักษ์, เยื่อบุช่องปากอักเสบ, เคมีบำบัด

บทคัดย่อ

          ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและพบบ่อยหลังได้รับเคมีบำบัด เกิดขึ้นได้ทันทีจนถึงหลายสัปดาห์หลังได้รับยาเคมีบำบัด ก่อให้เกิดความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน ในรายที่อาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องได้รับยาบรรเทาอาการปวด บางรายมีปัญหาทุพโภชนาการ และติดเชื้อในช่องปาก บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนวัตกรรมในป้องกันและจัดการภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบจากการได้รับเคมีบำบัด โดยใช้แนวคิดระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของโอเร็มและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์โดยประยุกต์แนวคิดของเฟรมมิ่งและเฟนตอน นำสู่การปฏิบัติ 5 ขั้นตอนได้แก่ 1) การตั้งคำถามจากสถานการณ์ปัญหา 2) การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) การประเมินคุณภาพหลักฐานเชิงประจักษ์ 4) การตัดสินใจและนำไปปฏิบัติ และ 5) การตรวจสอบผลการปฏิบัติที่เป็นวงจรต่อเนื่อง โดยนวัตกรรมการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) แผนการป้องกันและจัดการภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบร่วมกับการใช้น้ำผึ้งและความเย็น 2) แฟ้มประกอบการสอนและการให้ข้อมูล 3) คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วย และ 4) สิ่งประดิษฐ์วงล้อประเมินภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ

Author Biography

อนุชา ไทยวงษ์, วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

อาจารย์พยาบาล

References

1. Lalla RV, Sonis ST, Peterson DE. Management of oral mucositis in patients with cancer. Dent Clin North Am2008;52(1):61-77.

2. สมพรยาเภา, มะลิรัศมีจันทร์, นิวรรณนันทสุขเกษม, กนกวรรณบุญสังข์. การป้องกันและบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด. วารสารพยาบาลศิริราช2552;3(1): 37-47.

3. Chaveli-López B, Bagán-Sebastián JV. Treatment of oral mucositis due to chemotherapy. J Clin Exp Dent2016;8(2): e201–e209.

4. วันทกานต์ราชวงศ์, ปรางทิพย์ฉายพุทธ, สุวิมลกิมปี, นันทกานต์เอี่ยมวนานนทชัย. ผลของโปรแกรมการจัดการการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่อภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีหรือฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด. วารสารสภาการพยาบาล2556;28(1):34-48.

5. ปณิตา คุณสาระ, พรรณวดี พุธวัฒนะ, ธิราภรณ์ จันทร์ดา. ผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่ออาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด. รามาธิบดีพยาบาลสาร2556;19(1):73-86.

6. Prutipinyo C, Maikeow K, Sirichotiratana N. Self-care behaviours of chemotherapy patients. J Med Assoc Thai2012;95(Suppl6):S30-7.

7. หยาดรุ้ง อุไรพันธุ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก2557;15(1):87-92.

8. สมจิต หนุเจริญกุล. การพยาบาลศาสตร์ของการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง;2554.

9. Orem DE. (Ed.) Nursing: concepts of Practice (5th ed.). St. Louis : Mosby-Year Books;1995.

10. ณัฐธยาน์ ชาบัวคำ, พรรณวดี พุธวัฒนะ, ธิราภรณ์ จันทร์ดา.ผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับกลีเซอรีนพญายอและเจลแป๊ะตำลึงต่อภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด. รามาธิบดีพยาบาลสาร2557;20(2):145-62.

11. กิ่งกาญจน์ ตังคโนภาส, นํ้ าอ้อย ภักดีวงศ์, อําภาพร นามวงศ์พรหม. ผลลัพธ์ของการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบโดยใช้แนวปฏิบัติ ที่พัฒนาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบําบัด. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจําปี 2559.

12. Melnyk, B. M., & Fineout-Overholt, E. (Eds.). Evidence-based practice in nursing & healthcare: A guide to best practice. Lippincott Williams & Wilkins;2011.

13. จุฑารัตน์ บันดาลสิน. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่นวัตกรรมการบริการพยาบาล. วารสาร พยาบาลทหารบก 2557;15(3):9-17.

14. อนุชา ไทยวงษ์ และคณะ. ชุดนวัตกรรมส่งเสริมการบริหารแขนและไหล่หลังการผ่าตัดเต้านม:จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การสร้างนวัตกรรม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2560;14(3):114-24.

15. Flemming K, Fenton M. Making sense of research evidence to inform decision making. In Thompson C. Dowding D. editors. Clinical decision making and judgement in nursing. Toronto: Harcourt Publishers;2000:109-29.

16. Cho HK, Jeong YM, Lee HS, Lee YJ, Hwang SH. Effects of honey on oral mucositis in patients with head and neck cancer: A meta-analysis. Laryngoscope 2015;125(9):2085-92.

17. Richards D. Evidence to support the use of honey for prevention of oral mucositis in cancer patients is limited. Evid Based Dent2012;13(3):74.

18. Aghamohamamdi A, Hosseinimehr SJ. Natural products for management of oral mucositis induced by radiotherapy and chemotherapy. Integr Cancer Ther2016;15(1):60-8.

19. พิชญาภา พิชะยะ, พรรณวดี พุธวัฒนะ, ลาวัลย์ รักษนาเวศ, สุภัทรา เฟื่องคอน. ผลของการใช้น้ำผึ้งต่ออาการเยื่อบุช่องปากอักเสบและภาวะโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษากับเคมีบำบัด.วารสารโรคมะเร็ง2558;35(3):103-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-11

ฉบับ

บท

บทวิทยาการคลินิก (Clinical science article)