ความสัมพันธ์ระหว่างเงินค่าขนมกับปริมาณฟันผุ ถอน อุด (DMFT) ในเด็กอายุ 12 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • นิตยา พวงราช นักศึกษาหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จิราพร เขียวอยู่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวสถิติและ ประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิลาวัลย์ วีระอาชากุล รองศาสตราจารย์ ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เงินค่าขนม, ปริมาณฟันผุ ถอน อุด (DMFT), เด็กอายุ 12 ปี

บทคัดย่อ

          การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ หาความสัมพันธ์ระหว่างเงินค่าขนมกับปริมาณฟันผุ ถอน อุด (DMFT) ในเด็กอายุ 12 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอคูเมือง จังหวัด บุรีรัมย์ ตัวอย่างมี 299 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ วัดเงินค่าขนมในรูปของรายจ่ายเฉพาะค่าขนมต่อสัปดาห์เป็นบาท เก็บ ข้อมูลด้วยแบบสอบถามสำหรับการสัมภาษณ์โดยตรง แบบบันทึกเงิน ค่าขนม และแบบบันทึกการตรวจฟัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการถดถอย พหุทวินามแบบลบกรณีตัวแปรตามมีค่าเป็นศูนย์จำนวนมาก ผลการศึกษา พบว่า เด็กที่มีรายจ่ายเฉพาะค่าขนมตั้งแต่สัปดาห์ ละ 80 บาทขึ้นไป มีปริมาณฟันผุ ถอน อุด (DMFT) มากกว่า เด็กที่มี รายจ่ายน้อยกว่า 80 บาทต่อสัปดาห์ 1.56 เท่า (95% CI= 1.19-2.06) เด็กที่เป็นชาวไทยอีสานมีปริมาณฟันผุ ถอน อุด (DMFT) มากกว่า เด็ก ไทยเขมร 1.34 เท่า (95% CI= 1.04-1.72) ส่วนเด็กชาวไทยโคราชมี ปริมาณฟันผุ ถอน อุด (DMFT)ไม่แตกต่างจากเด็กไทยเขมร(Adjusted incidence rate ratio[IRRadj]= 1.28; 95% CI= 0.92-1.78) เด็ก ที่มีผู้เลี้ยงดูจบการศึกษาตํ่ากว่ามัธยมศึกษามีปริมาณฟันผุ ถอน อุด (DMFT) มากกว่า เด็กที่มีผู้เลี้ยงดูจบการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา ขึ้นไป 1.29 เท่า (95% CI= 1.05-1.59) เด็กที่มีสมาชิกในครอบครัว สูบบุหรี่ตั้งแต่ 2-3 คน มีปริมาณฟันผุ ถอน อุด(DMFT) มากกว่า เด็ก ที่ไม่มีสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่ 1.27 เท่า (95% CI= 1.01-1.61) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเงิน ค่าขนมกับปริมาณฟันผุ ถอน อุด ในเด็กอายุ 12 ปี แม้ว่าขนาดความ สัมพันธ์จะไม่สูงนัก แต่ผู้เกี่ยวข้องควรนำไปพิจารณาประกอบการหา มาตรการแก้ปัญหาสุขภาพฟันของเด็กวัยนี้

References

1. WHO. Oral Health Database [database on the Internet]. 2011 [cited 2011/1/9]. Available from:
http://www.mah.se/CAPP/Country-Oral-Health-Profiles/According-to-WHO-Regions/

2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์.รายงานการวิจัย ผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ 2555. บุรีรัมย์: กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพและทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์.

3. Locker D. Deprivation and oral health: A review. Community Dentistry and Oral Epidemiology. 2000;28(3):161-9.

4. Haugejorden O, MagneBirkeland J. Ecological time-trend analysis of caries experience at 12 years of age and caries incidence from age 12 to 18 years: Norway 1985-2004. Acta Odontologica Scandinavica 2006;64(6):368-75.

5. De Vries HCB, Lucker TPC, Cremers SBL, Katan MB. Food choice and caries experience in Dutch teenagers as a function of the level of education of their parents.European Journal of Clinical Nutrition 1990;44(11):839-46.

6. Harris R, Nicoll AD, Adair PM, Pine CM. Risk factors for dental caries in young children: A systematic review of the literature. Community Dental Health. 2004;21(1 SUPPL.):71-85.

7. Petersen PE. Sociobehavioural risk factors in dental caries - International perspectives.Community Dentistry and Oral Epidemiology. 2005;33(4):274-9.

8. Árnadóttir IB, Rozier RG, Saemundsson SR, Sigurjóns H, Holbrook WP. Approximal caries and sugar consumption in Icelandic teenagers. Community Dentistry and Oral Epidemiology 1998;26(2):115-21.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)