การปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จิราพรรณ กลางคาร นักศึกษาปริญญาโทสาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กาญจนา นาถะพินธุ รองศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การปวดกล้ามเนื้อ, เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาการปวดกล้าม เนื้อจากการทำงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น โดยทำการสัมภาษณ์เจ้าพนักงานทันต สาธารณสุข ทั้งหมด จำนวน 87 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมSTATA V.10 สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 95%CI

          ผลการวิจัยพบว่า เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น เป็นเพศหญิงร้อยละ 79.31 อายุเฉลี่ย เท่ากับ 30.47 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 55.59 กิโลกรัมส่วนสูงเฉลี่ย 160.08 เซนติเมตร ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 21.67 อายุงานเฉลี่ย 8.59 ปี ลักษณะงานที่ทำให้เกิด ปัญหาการปวดกล้ามเนื้อมากที่สุด คือ การถอนฟัน ปัญหาการปวดกล้ามเนื้อ ของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข พบว่า ปวดมากที่สุด คือ คอ ไหล่ซ้าย ไหล่ขวาและเอวเท่ากัน และหลังส่วนบน ตามลำดับ เนื่องจากการทำงานใน ท่าเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานานไม่มีการหยุดพักและเมื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัย พบว่า การออกกำลังกาย การหยุดพักในระหว่างการทำงานด้านทันตกรรม คนไข้แต่ละคนและความถนัดของมือในการทำงานด้านทันตกรรมมีความ สัมพันธ์กับการปวดกล้ามเนื้อบริเวณ คอ ไหล่ หลังส่วนบน แขนท่อนบน ข้อศอก เอว แขนท่อนล่างก้นและสะโพกมือ มือและข้อมือ ต้นขา น่อง และ เท้าและข้อเท้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ดังนั้น เจ้าพนักงาน ทันตสาธารณสุขควรมีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถขณะทำงานและหยุดพักเป็น ระยะ ควรมีการปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับการทำงาน ตลอด จนใหค้ วามรู ้แนวทางปอ้ งกัน วิธีการลดและคลายการปวดกลา้ มเนื้อระหวา่ ง การทำงานของตนเองรวมถึงมีการส่งเสริมสุขภาพของตนเองเพื่อลดปัญหา การปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน 

References

1. World Health Organization [WHO]. Comparative risk analysis of the contribution of occupational Risk factors to the
from:http://www.who.int/occupational_health/topics/

2.เจริญ โชติกวณิชย์.หลายคำถามที่เกี่ยวกับอาการปวดหลัง.[ออนไลน์]2522[อ้างเมื่อ 12 กรกฎาคม 2552]
จาก http://www.si.mahidol.ac.th/department/orthopedic.

3.Finsen L, Christensen H, Bakke M. Musculosketletal disorders among dentists and variation in dental work. Appl Ergon; 1998;29:119-25.

4.Dajpratham P, Ploypetch T, Kiattavorncharoen S, Boonsiriseth K. Prevalence and Associated Factors Of Musculoskeletal Pain among the Dental Personnel in a dental school. J Med Assoc Thai 2010;93(6):714-21.

5.แมนเมืองสรวง วงศ์อภัย. ภาวะสุขภาพจากการทำงานของทันตแพทย์ภาครัฐ จังหวัด เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2552.

6.ณรงค์ เบ็ญสะอาด.สภาพการทำงานและกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกในผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา กรณีศึกษา ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง . วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2545.

7.ศุภฐิตา กองสิน. การปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสรรสิทธิประสงค์อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มาหาวิทยาลัยขอนแก่น;2551.

8.อนงค์ หาญสกุล. ปัญหาสุขภาพจากการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมทอผ้าไหมพรม จังหวัดชัยภูมิ. ว.มหาวิทยาลัยขอนแก่น ;2546 ;6(1):139-149.

9.อภิญญา ยุทธชาวิทย์ และวีระชาติ ยุทธชาวิทย์.ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข)วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น.ว.ทันตาภิบาล;2554;22(2):16-21.

10.ณัฐพงษ์ ฤทธิ์น้ำคำ. ปัญหาสุขภาพจากการทำงานและการดูแลสุขภาพจากกลุ่มอาชีพทอผ้าไหม อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. ว.มหาวิทยาลัยขอนแก่น ;2550;7(3):83-97.

11.กาญจนา นาถะพินธุ , สมชาย นาถะพินธุ, ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม และจารุวรรณ นิพพานนท์. ปัญหาสุขภาพจากการทำงานและพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพในผู้ประกอบอาชีพอุตสาหกรรม ในครัวเรือนของชุมชนชนบท อีสาน. ว.มหาวิทยาลัยขอนแก่น ;2542;4(2) :99-108.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)