ผลของโปรแกรมการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ปิยะลักษณ์ เดือนกอง
พรรณี บัญชรหัตถกิจ

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 56 คน เป็นนักเรียนกลุ่ม ทดลองจำนวน 28 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 28 คน เฉพาะกลุ่มทดลองได้ รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันตสุขภาพจากผู้วิจัยตามที่กำหนด ไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามด้วยตนเอง สำหรับรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยสถิติ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05


          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ความรู้โรคเหงือกอักเสบ การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวัง ในผลดีต่อการป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบและการปฏิบัติตัวในการ ป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p-value<0.001) คะแนนเฉลี่ยของปริมาณคราบจุลินทรีย์และ สภาวะเหงือกอักเสบในกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

1. กรกฎ จันทรศิริศรี. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเกี่ยวกับทันตสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ โดยประยุกต์แรงสนับสนุนทางสังคมในนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2548.

2. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549-2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2551.

3. ขวัญดาว พันธ์หมุด. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมโดยการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2549.

4. ประพิณทิพย์ หมื่นน้อย. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในเขตตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2548.

5. รวิฎา ทับทิมใส. ประสิทธิผลโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนที่เป็นโรคเหงือกอักเสบ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2552;17(2):77-8.

6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนคราชสีมา. รายงานทันตสุขภาพ. [ออนไลน์] 2555 [อ้างเมื่อ 5 มิถุนายน 2555] จาก www.identdata.com;2554.

7. อภิญญา ผ่านพินิจ. ผลของรูปแบบการพยายามที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจ เพื่อป้องกัน โรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล;2550.

8. Bandura, A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H.Freeman;1977.

9. Bandura, A. Health Promotion from the Perspective of Social Cognitive Theory. Stanford University;1998.

10. House, J. S. Work Stress and Social Support. California:Addison Wesley Publishing;1981.

11. World Health Organiztion. [homepage on the Internet]. Oral and Dental Health. [cited 2012 June 6]; Available from: http://www.afro.who.int/en/clusters-a-programmes/dpc/non-communicable-diseases managementndm/programme-components/oral-health.html.