ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการพัฒนาพฤติกรรมการดูแล สุขภาพช่องปาก เพื่อการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • กิติศักดิ์ มูลละ มหาบัณฑิต หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการ ส่งเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, โรคเหงือกอักเสบ, โปรแกรมสุขศึกษา

บทคัดย่อ

          ปัญหาสุขภาพช่องปากที่เกี่ยวข้องกับโรคเหงือกอักเสบนับว่าเป็น ปัญหาจำเป็นในการแก้ไขเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กชั้นประถม ศึกษา ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันได้ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุ ประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความ สามารถตนเองร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจมีผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมการดูแล สุขภาพช่องปากเพื่อการป้องกันโรคเหงือกอักเสบเป็นการศึกษาแบบกึ่ง ทดลอง(Quasi-experimental Two Group Pretest-Posttest) โดยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 จำนวนทั้งสิ้น 64 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 32 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษา ประกอบด้วยกิจกรรม ต่างๆ ได้แก่ การบรรยายประกอบสื่อ แบบจำลอง ภาพพลิก การสาธิต การฝึกปฏิบัติ การใช้ตัวแบบ การอภิปรายกลุ่ม ระยะเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมินแผ่นคราบจุลินทรีย์ ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนภายในกลุ่ม วิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired Sample t-test และระหว่างกลุ่ม ใช้สถิติ Independent Sample t-test กำหนดระดับค่าความเชื่อมั่น 95% กำหนด นัยสำคัญที่ระดับ 0.05

References

1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.การแปรงฟันอย่างมีประสิทธิภาพ. นนทบุรี;2553.

2. World Health organization [WHO] [homepage on the Internet]. Oral Health Online Resources, Inc.:c2011 [cited 2011 June 20]. Available from : http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs318/

3. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ พ.ศ. 2549-2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2551.

4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. รายงานผลสำรวจสภาวะช่องปากตามกลุ่มอายุ ปี 2553 จังหวัดหนองบัวลำภู. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.];2553.

5. Bloom, B.S. Handbook on formative and Summative Evaluation of Study of learning. New ํYork: David Mackey; 1975.

6. Bandura, A. Social Learning Theory. New Jersey: Prentice-Hall;1977.

7. ขวัญดาว พันธ์หมุด. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเอง ร่วมกับทฤษฎีสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2549.

8. ประพิณทิพย์ หมื่นน้อย. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2548.

9. เวนิการ์ หล่าสระเกษ. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับทฤษฎีสนับสนุนทางสังคมในการฝึกผู้นำเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา และการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น;2552.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)