วิชาชีพการพยาบาล: ความหมายเชิงเพศภาวะ

Authors

  • ศิริพร จิรวัฒน์กุล
  • นันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐ
  • ประณีต ส่งวัฒนา
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • วารุณี ฟองแก้ว
  • สมพร รุ่งเรืองกลกิจ

Abstract

ประเด็นเพศภาวะในสังคมชายเป็นใหญ่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการขาดแคลนกำลังคนด้านพยาบาลศาสตร์ในประเทศไทย แต่ยังไม่มีข้อมูลเจาะลึกที่จะนำไปสู่การอธิบายสถานการณ์นี้ได้ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องพยาบาลวิชาชีพ:ความหมายเชิงเพศภาวะ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายของการเป็นพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ และผู้เกี่ยวข้องในกระทรวงสาธารณสุข และเชื่อมโยงกับประเด็นเพศภาวะ โดยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาล และผู้อำนวยการโรงพยาบาล จำนวนทั้งสิ้น383 คน ในจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี กรุงเทพมหานคร และสงขลา ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2552 ถึง เมษายน 2553 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระรักษาความเข้มงวดของการวิจัยด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้า มีข้อค้นพบที่สำคัญคือ 1)พยาบาลคือผู้จัดการและบุคลากรเอนกประสงค์ 2) การตอกย้ำเชิงเพศภาวะ: พยาบาลหญิงคิดละเอียด พยาบาลชายคิดเป็นระบบ 3) ภาพสะท้อนเพศภาวะ: พยาบาลชายมีอำนาจต่อรอง และเครือข่ายทางสังคมมากกว่าพยาบาลหญิง และ 4) ทั้งพยาบาลหญิง และพยาบาลชาย ต่างเป็นชนชั้นกลางในวงการสาธารณสุข ข้อค้นพบนี้ชี้นำว่า พยาบาลไทยทุกคนต้องช่วยกันเก็บความเป็นผู้ให้การดูแลด้วยหัวใจแห่งมนุษย์ กู้ภาพลักษณ์ และเสริมสร้างพลังอำนาจวิชาชีพให้การพยาบาลให้ก้าวพ้นมายาคติต่างๆ ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงแนวคิด และโครงสร้างวัฒนธรรมเชิงอำนาจ

คำสำคัญ: วิชาชีพการพยาบาล เพศภาวะ การวิจัยเชิงคุณภาพ ประเทศไทย

 

Downloads

Published

2012-09-13

How to Cite

1.
จิรวัฒน์กุล ศ, ชินล้ำประเสริฐ น, ส่งวัฒนา ป, เดียวอิศเรศ ว, ฟองแก้ว ว, รุ่งเรืองกลกิจ ส. วิชาชีพการพยาบาล: ความหมายเชิงเพศภาวะ. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 13 [cited 2024 Mar. 28];26(2):26. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2673