กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการนำเสนอความคิดเกี่ยวกับ "ฝ่ายครู"ในวาทกรรมข่าวลอตเตอรี่ 30 ล้านบาทในหนังสือพิมพ์รายวัน

Main Article Content

พรทิพย์ เฉิดฉินนภา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการนำเสนอข่าวลอตเตอรี่ 30 ล้านบาทในหนังสือพิมพ์รายวัน โดยเก็บข้อมูลข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2560 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2561 รวมจำนวนข่าวทั้งสิ้น 78 ข่าว ผลการศึกษาพบกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการนำเสนอข่าวลอตเตอรี่ 30 ล้านบาท จำนวน 5 กลวิธี ได้แก่ การเลือกใช้ศัพท์ การใช้คำแสดงทัศนภาวะ การใช้อุปลักษณ์ การใช้สหบท และการใช้มูลบท กลวิธีทางภาษาดังกล่าวส่งผลต่อการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนต่อเหตุการณ์ลอตเตอรี่ 30 ล้านบาท

Article Details

How to Cite
เฉิดฉินนภา พ. (2018). กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการนำเสนอความคิดเกี่ยวกับ "ฝ่ายครู"ในวาทกรรมข่าวลอตเตอรี่ 30 ล้านบาทในหนังสือพิมพ์รายวัน. วรรณวิทัศน์, 18, 166–184. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2018.7
บท
บทความประจำฉบับ

References

กองปราบไขคดีหวย 30 ล.. (13 ธันวาคม 2560). เดลินิวส์, น. 9.

ครูท้าชน ร.ต.ท. เข้าเครื่องจับเท็จพิสูจน์. (15 ธันวาคม 2560). ไทยรัฐ, น. 8.

จ่อจับตร.กาญจน์ ปั้นเรื่องจงใจให้เป็นคดีหวยหาย. (19 กุมภาพันธ์ 2561). เดลินิวส์, น. 1.จ่อหมายจับคดีหวย 30 ล.. (17 กุมภาพันธ์ 2561). ไทยรัฐ, น. 11.

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จับแน่คดีหวย 30 ล. กองปราบชี้หลักฐานมัดให้ข้อมูลเท็จ. (15 กุมภาพันธ์ 2561). เดลินิวส์,น. 13.

เจ้กุ้งซัดตร.ภ.7 ปัดสํานวนยันไม่เห็น 726. (24 กุมภาพันธ์ 2561). ไทยรัฐ, น. 11.

เจอต้นตอหวยอลเวงบิ๊กตร.ลั่นขอเวลา 2 วัน. (20 กุมภาพันธ์ 2561). เดลินิวส์, น. 1.

ชนกพร อังศุวิริยะ. (2559). “การใช้คําแสดงทัศนภาวะจากข่าวความรุนแรงจังหวัดในชายแดนภาคใต้ผ่านหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้และหนังสือพิมพ์ระดับชาติ.”วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(1), 27–37.

ซูม. (2 มีนาคม 2561). คดีหวย 30 ล้านทําไมคนไทยสนใจ. ไทยรัฐ. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/1216830.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนํามาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เด้งผบก.กาญจน์ พิษล้วงลูกสํานวนหวย 30 ล.. (22 กุมภาพันธ์ 2561). ไทยรัฐ, น. 13.ตรวจดีเอ็นเอคลายข้อคาใจชิงลอตเตอรี่ถูกรางวัลที่ 1. (7 ธันวาคม 2560). ไทยรัฐ, น. 11.

ธีระยุทธ สุริยะ. (2554). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนของนักโทษประหารและการประหารชีวิตในหนังสือพิมพ์รายวันไทย.” วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 28, 73–105.

นิติพงศ์ พิเชฐพันธุ์. (2553). “กลวิธีทางภาษาในการนําเสนอความคิดเกี่ยวกับ ‘ไทย’และ ‘เขมร’ ในวาทกรรมเหตุการณ์พิพาทเขาพระวิหาร พ.ศ. 2551 จากหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย.” วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 27, 40–75.

ป.ค้นบ้าน “เจ้บ้าบิ่น” พบบันทึกเตี๊ยมคําให้การคดี. (1 มีนาคม 2561). ไทยรัฐ, น. 1.

ป.ลุย 7 จุดเมืองกาญจน์เค้นสอบตํารวจ. (16 กุมภาพันธ์ 2561). เดลินิวส์, น. 1.ผบก.งัดทนายชี้นําหวย 30 ล.. (10 ธันวาคม 2560). ไทยรัฐ, น. 11.

เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต. (2559). “ภาษากับอุดมการณ์: วาทกรรมนมแม่ในสังคมออนไลน์.” วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 35, (ฉบับพิเศษ), 167–183.

ฟันธงหวย 30 ล้านของครูปรีชาพยานชี้ชัดร.ต.ท.จรูญเจอ 2 ข้อหา. (1 กุมภาพันธ 2561).เดลินิวส์, น. 13.

ร.ต.ท.จรูญเจ้าของป.ฟันธงคดีหวย 30 ล.. (21 กุมภาพันธ์ 2561). ไทยรัฐ, น. 11.

รัชนีย์ญา กลิ่นนํ้าหอม. (2556). “อุปลักษณ์ความสุขในบล็อกไทย.” วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 14(2), 132–138.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ไล่บี้คดีหวย 30 ล้านสาวถึงกลุ่มบิดเบือนผบช.ก.ลั่นโยงถึงใครฟันข้อหาหนัก. (9 กุมภาพันธ์ 2561). เดลินิวส์, น. 8.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนํามาศึกษาภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศึกชิงหวย 30 ล้านเขม็งเกลียวผบ.ตร.ลั่นรู้ตัวคนผิด. (14 กุมภาพันธ์ 2561), เดลินิวส์, น. 1.

สํานวนหวย 30 ล. เกือบ 100% ใครแพ้เจอคดี. (25 กุมภาพันธ์ 2561). ไทยรัฐ, น. 1.

สุภัทร แก้วพัตร. (2560). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนคนอีสานในหนังสือพิมพ์ระดับชาติ: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์.” วารสารไทยศึกษา, 13(1), 121–168.

Fairclough, N. (1995 a). Critical discourse analysis: The critical study of language. London: Longman.

Fairclough, N. (1995 b). Media discourse. London: Edward Arnold.