กลวิธีการกลบเกลื่อนในการสื่อสารในภาวะวิกฤตผ่านเฟซบุ๊กองค์กรธุรกิจ

Main Article Content

อรวี บุนนาค
สมชาย สำเนียงงาม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการกลบเกลื่อนในแถลงการณ์การสื่อสารในภาวะวิกฤตผ่านเฟซบุ๊กองค์กรธุรกิจ โดยเก็บข้อมูลจากแถลงการณ์ การสื่อสารในภาวะวิกฤตผ่านเฟซบุ๊กองค์กรธุรกิจ จํานวน 7 องค์กร จากสถานการณ์ภาวะวิกฤต จํานวน 14 สถานการณ์ ผลการวิจัยพบกลวิธีการกลบเกลื่อนจํานวน 4 ลักษณะ ได้แก่ (1) การใช้ถ้อยคําแสดงความไม่เฉพาะเจาะจง (2) การลดความรุนแรงของถ้อยคํา (3) การลดนํ้าหนักเจตนาของวัจนกรรม และ (4) การเพิ่มนํ้าหนัก เจตนาของวัจนกรรม ผลการวิจัยพบว่าองค์กรใช้ กลวิธีการกลบเกลื่อนเพื่อหน้าที่ ในการสื่อสารในภาวะวิกฤต 3 ประการ ได้แก่ (1) ช่วยหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ ของถ้อยคํา (2) ช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดภาพลักษณะด้านลบ และ (3) ช่วยเพิ่มนํ้าหนักความน่าเชื่อถือของถ้อยคํา

Article Details

How to Cite
บุนนาค อ., & สำเนียงงาม ส. (2018). กลวิธีการกลบเกลื่อนในการสื่อสารในภาวะวิกฤตผ่านเฟซบุ๊กองค์กรธุรกิจ. วรรณวิทัศน์, 18, 138–165. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2018.6
บท
บทความประจำฉบับ

References

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุษบา สุธีธร. (2555). เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์และผลิตงานประชาสัมพันธ์ (หน่วยที่ 1–5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรนภัส ทองพูล. (2559). รูปเบี่ยงบังและหน้าที่ในแผ่นพับโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดนํ้าหนัก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

รุ่งรัตน์ ชัยสําเร็จ. (2558). การสื่อสารองค์กร: แนวคิดการสร้างชื่อเสียงอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรวรรณา เพ็ชรกิจ เพ็ญศิริ รัศมี Yuji Furuhashi และสุวคนธ์ พิญญาณ. (2559). รูปเบี่ยงบังระดับคําและหน้าที่ในบทความวิจัยภาษาไทยด้านวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์. วารสารศิลปศาสตร์, 16(2), 173–198.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนํามาศึกษาภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนันทา คงประโทน. (2544). กลวิธีการกลบเกลื่อนในการสนทนาเรื่องเพศของคนไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2557). ลักษณะสองหน้าของภาษาวิชาการ: ความแจ่มชัดกับการเบี่ยงบังในการเขียนภาษาวิชาการไทย. ในภาษากับอํานาจ: บทความจากการประชุมวิชาการ (น. 105–107). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Blum-Kulka, S., & Olshtain, E. (1984). Requests and apologies: A cross-cultural study of speech act realization patterns (CCSARP). Applied Linguistics, 5(3), 196–213.

Wilcox, D. L., & Reber, B. H. (2013). Public relations writing and media techniques.7th Edition. harlow, UK: Pearson.

Hubler, A. (1983). Understatements and Hedges in English. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.

Hyland, K. (1994). Hedging in academic writing and EAP textbooks. English for Specific Purposes, 13(4), 239–256.

Hyland, K. (1995). The author in the text: Hedging scientific writing. Hongkong Papers in Linguistics and Language Teaching, 18, 33–42.

Hyland, K. (1996). Writing without conviction? Hedging in scientific research articles. Applied Linguistics, 17, 433–454.

Hyland, K. (1998). Hedging in scientific research articles. Amsterdam: John Benjamins.

Lakoff, G. (1973). Hedges: A study in meaning criteria and the logic of fuzzy concepts. Journal of Philosophical Logic, 2, 458–508.