ความสัมพันธ์ของเครือข่ายในกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

อินท์ชลิตา สุวรรณรังสิมา
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะการดำเนินธุรกิจในเครือข่ายกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จังหวัดชลบุรี 2) สภาพแวดล้อมเพื่อการจัดการธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จังหวัดชลบุรี 3) ความสัมพันธ์ในเครือข่ายกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จังหวัดชลบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 3 ราย และเครือข่ายธุรกิจที่เกี่ยวข้องในกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 3 ราย โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล สรุปผลการศึกษา และนาเสนอผลการศึกษาในรูปแบบการพรรณนา


            ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำงานด้านรับเหมาก่อสร้างเป็นระยะเวลาหลายปี ลักษณะของการดำเนินธุรกิจเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีทั้งลงทุนทำธุรกิจด้วยตนเอง ในรูปแบบของหุ้นส่วน และสืบทอดกิจการจากบรรพบุรุษ แหล่งงานของธุรกิจส่วนใหญ่เป็นแหล่งงานด้านอุตสาหกรรม ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งของบริษัทใหญ่หลายบริษัทซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ 2) โอกาสจากสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมืองการปกครองและปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้รับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์จากรัฐบาล ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม สังคมไทยในปัจจุบันค่อนข้างเป็นระบบที่เกื้อกูลกัน เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือกัน ปัจจัยด้านเทคโนโลยี มีระบบการผลิตที่ทันสมัยมากขึ้น ง่ายต่อการทำงานมากขึ้น อุปสรรคด้านการเมืองการปกครองเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อยครั้ง ส่งผลให้นักลงทุนอ่อนไหวกับปัจจัยทางการเมือง ผู้ประกอบการมีจุดแข็งด้านปัจจัยทางการตลาด คือการกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจน ปัจจัยทางด้านเทคนิค มีความชำนาญทางวิศวกรรมสูง และปัจจัยทางด้านการเงิน การวิเคราะห์ต้นทุนทางด้านการเงินและมีการวางแผนการเบิกจ่ายเงินอย่างเป็นระบบ 3) ความสัมพันธ์ในเครือข่ายกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง การดำเนินงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ก่อให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์ของธุรกิจและการทำธุรกิจร่วมกันในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจในเครือข่ายสามารถสามารถส่งเสริมศักยภาพระหว่างกัน โดยที่ธุรกิจเครือข่ายทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเสมือนเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะดำเนินการร่วมกันเพื่อประโยชน์ร่วมกัน


 


            This research aimed to study: 1) the business nature of construction business networks in Chonburi Province; 2) the environment for construction business management in Chonburi Province; and 3) the relationship of construction business networks in Chonburi Province. Data were collected by an in-depth interview. The research informants were 3 construction entrepreneurs in Chonburi Province and 3 business people in business networks related to construction businesses in Chonburi Province. Data were analyzed according to research objectives and were validated. The research results were concluded and presented as a descriptive research.


            The research results showed that: 1) most of entrepreneurs had experience in construction works for years. The nature of businesses was small and medium-sized enterprises. Some of them were self-started as a partnership, and others were family-inherited businesses. Most of construction works were from industrial sectors in Amata Nakorn Industrial Estate, Chonburi Province, where a number of large industrial companies were located. 2) The opportunity of external environment in aspect of political and economic factors was the government announced measures to stimulate real estate sector. Regarding social and cultural factor, Thai society was supportive, generous and helpful. As for technological factor, the production system was more advanced and facilitated the work. The threat of political factors was frequent changes of coalition government which affected the investors’ sensitivity to political factors. The entrepreneurs had strength in marketing factors, which they clearly determined target customers. As in technical factors, the entrepreneurs had high proficiency in engineering. Additionally, in financial factors, the financial cost analysis and disbursement planning were done systematically. 3) Regarding the relationships of construction business networks, the operation created business relationship and collaboration in various forms. As a result, the enterprises in the networks could enhance potential of each other. They did various activities together as if they were a large enterprise. They worked collaboratively because they had mutual benefits.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ