กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา: บ้านลูกประคบสมุนไพร อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์
วัลยา ก๋ำรามัญ

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้สินค้า (OTOP) บ้านลูกประคบสมุนไพร อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ  2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของศูนย์การเรียนรู้สินค้าบ้านลูกประคบสมุนไพร เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจลูกประคบสมุนไพร และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการศึกษา


             ผลการศึกษาพบว่า 1) การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจลูกประคบสมุนไพร เป็นการบริหารจัดการแบบเป็นธุรกิจขนาดย่อม (SMEs) การบริหารอำนาจในการตัดสินใจการดำเนินงานขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการแต่เพียงผู้เดียว มีการจัดจ้างลูกจ้างเพื่อเข้ามาทำหน้าที่ในส่วนของการผลิตและการขนส่ง แหล่งที่ตั้งของสถานประกอบการจะเป็นแหล่งชุมชนที่เป็นที่พักอาศัยของผู้ประกอบการ โรงพยาบาล ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจนวดสปา 2) การศึกษากลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจลูกประคบสมุนไพร พบว่า ธุรกิจมีจุดแข็งคือ สินค้ามีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ราคาต้นทุนการผลิตถูกกว่าเจ้าอื่น ส่วนจุดอ่อนคือ ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในสังคมเท่าไหร่ และโอกาสของธุรกิจลูกประคบสามารถขยายฐานการค้าไปยังต่างประเทศได้แล้ว แต่ยังมีอุปสรรคในเรื่องของการขนส่งสินค้าในจำนวนมาก ธุรกิจยังได้นำเอากลยุทธ์ความแตกต่าง กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน กลยุทธ์การจัดจำหน่าย และกลยุทธ์การส่งเสริมการขายมาใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินธุรกิจ จึงทำให้สามารถดำเนินธุรกิจให้มีความอยู่รอดและประสบความสำเร็จเป็นผู้ครองตลาดสามารถเข้าถึงและครองใจผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ซึ่งจากการศึกษาผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาเป็นแนวทางในการพัฒนาด้านการบริหารจัดการการดำเนินงานของธุรกิจลูกประคบสมุนไพรโดยใช้กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน


 


              The purposes of this research were 1) to study the form and appearance of running business of learning center of One Tambon One Product microwaved herbal dabber village, Amphur Phrapradaeng, Samutprakarn Province 2) to study competitive advantage strategy of competition of learning center of One Tambon One Product herbal dabber village. The information was gathered by in-depth interviews. The people who gave main information were the people who ran herbal dabber business. The information was analyzed, concluded and presented the result of study by descriptive form. The results of research were found that 1) The form that entrepreneurs chose to run herbal dabber business was small and medium enterprises (SMEs) management. The decision management of running business depended on only the owner. The employers were hired to produce and transport. The companies were located in community which was residence of entrepreneurs, hospitals, hotels and spa business. 2) Studying strategy of building advantages of herbal dabber business competition was found that the strong points of business were the identity of products, the cost of producing was cheaper than other suppliers; on the other hand, the weak point was the products were not famous among people in society. The business opportunity of herbal dabber can be expanded to other countries; however, transporting a lot of products was an obstacle of this business. The strategy of difference, costing, sales and promotions were brought to be a model of business; therefore, the business can be run smoothly and successfully. Also, they are the leader of market who can access in and engage in consumers very well. The entrepreneurs of this business can bring the result of study to be guidance for developing management of herbal dabber business by using the strategy to increase advantages of competition sustainably. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ